ศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับ

  • การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย โดยไม่ต้องดื่มหรือฉีดสารทับรังสี Ultrasonography เช่น Ultrasound upper abdomen ตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนบน ได้แก่ ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ม้าม ไต
  • การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย โดยดื่มหรือฉีดสารทึบรังสี
    • การตรวจ Barium swallowing การตรวจดูการกลืนและการสำลัก ตรวจดูการบีบตัวของหลอดอาหาร ตรวจดูความผิดปกติของหลอดอาหาร
    • การตรวจ Upper GI การตรวจดูระบบการกลืนอาหาร หลอดอาหาร ตรวจดูกระเพาะอาหารทั้งหมด และลำไส้เล็กส่วนต้น
    • การตรวจ Long GI การตรวจดูระบบการกลืนอาหาร ตรวจดูกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กทั้งหมด ดูการอักเสบของลำไส้เล็กและความผิดปกติอื่นๆ
    • การตรวจ BE (Barium Enema) ตรวจดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่
  • Computerrised Tomography (Spiral CT Scan) และ Magnetic Resonance Imaging (MRI)
  • GI Endoscopy กล้องส่องระบบทางเดินอาหารส่องกล้องลำไส้เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยและผ่าตัด
    • Gastroscopy การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและส่องกล้องลำไส้เล็กส่วนต้น
    • Colonoscopy การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคของลำไส้ใหญ่
    • Sigmoidoscopy การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
    • Polypectomy การตัดเนื้องอกขนาดเล็กในกระเพาะลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหาร
    • EVS, EVL (Endoscopic variceal treatment) การรักษาเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร โดยการฉีดยาหรือรัดเส้นเลือดขอดโดยผ่านการส่อง กล้อง
    • PEG (Percutaneous endoscopic gastrostomy) การใส่สายให้อาหารผ่านทางหน้าท้องเข้ากระเพาะอาหารโดยการส่องกล้องเพื่อหลีกเลี่องการผ่าตัด
    • Diagnostic RECP (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography) การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคของระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนโดยการส่องกล้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด เช่น นิ่วในท่อน้ำดี มะเร็งของท่อน้ำดี ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ฯลฯ
    • Therapeutic ERCP (Sphincterotomy, Stone extraction) การตรวจรักษาท่อน้ำดี เช่น มะเร็งท่อน้ำดี และนิ่วในถุงน้ำดีผ่านการส่องกล้อง
  • GI Pathology การตรวจทางพยาธิสภาพที่แม่นยำ
  • Intervention Radiology การใช้เทคนิคทางเอกซเรย์ในการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
  • TOCE (Transcatheter oily chemo-embolization) ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่เกินไป มักกระทำโดยรังสีแพทย์ โดยการสอดสายขนาดเล็กเข้าไปทางเส้นเลือดแดงตับเพื่อเข้าไปถึงก้อนมะเร็งโดยตรงเพื่อใส่ยาเคมีเข้าไปที่ก้อนมะเร็งพร้อมทั้งอุดเส้นเลือดหลักที่เข้าไปเลี้ยงก้อนมะเร็งด้วยในการรักษาเพื่อยืดเวลา ในบางกรณีเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงและไม่กระจายไปที่อื่น อาจจะผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกเลยก็ได้
  • FNA (Fine needle aspiration) และ Liver Biopsy การดูดและเจาะตับ เพื่อนำเนื้อเยื่อและเซลล์ตับมาวิเคราะห์ในกรณีที่มีก้อนในตับสงสัยเป็นมะเร็งตับหรือมีการอักเสบของตับ
  • การตรวจ Urea Breath Test ใช้ในการตรวจการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H.pylori) ปัจจุบันพบว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้มะเร็งของกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นหารตรวจจากลมหายใจโดยไม่ต้องส่องกล้อง (วัดปริมาณของ 13C)

สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับ
ชั้น 2 อาคารโรงพยาบาลกรุงเทพ
จันทร์, อังคาร, พฤหัสบดี, เสาร์, อาทิตย์ เวลา 07.00 - 16.00 น.
พุธ, ศุกร์  เวลา 07.00 - 18.00 น.