ผู้สูงอายุเกิดการพลัดตกหกล้มได้ง่ายขึ้น และมีความรุนแรงจากการล้มมากกว่าช่วงอายุอื่น ๆ การประเมินความเสี่ยงของผู้สูงอายุเพื่อเตรียมตัวฝึกล้มและลุกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น

ท่านมีอาการเหล่านี้
ขณะเปลี่ยนท่าทางหรือไม่?

หากคุณมีอาการ แม้แต่ 1 ข้อ ก็ถือว่าคุณอาจเสี่ยงล้มได้ในอนาคต

ท่านมีอาการเหล่านี้
ขณะเปลี่ยนท่าทางหรือไม่?

หากคุณมีอาการ แม้แต่ 1 ข้อ ก็ถือว่าคุณอาจเสี่ยงล้มได้ในอนาคต

ค่ามวลกระดูก

ค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก ที่สามารถวัดได้จากการตรวจภาวะกระดูกพรุน Bone Mineral Density หากมีค่า T-score ต่ำกว่า -1 ถือว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงล้ม

สิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการล้ม

สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้าน สามารถทำให้ผู้สูงวัยล้มได้ จากการที่แสงสว่างไม่เพียงพอ, พื้นลื่น-เปียก, พื้นต่างระดับ, รวมไปถึงอาการที่เกิดจากโรคประจำตัวร่วมด้วย
เพราะผู้สูงอายุต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่ภายในบ้าน ทำให้การจัดบ้านให้เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญในห้องต่างๆ ดังนี้ พื้นบ้าน, บันได, ห้องครัว, ห้องนํ้า, ห้องนอน, และเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน

ซ้อมล้ม ฝึกลุก ลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บ

7 วัน 7 ท่าออกกำลังในผู้สูงอายุ ทำง่าย-ทำได้ทุกวัน

ล้มหนึ่งครั้ง...ลามเกินหนึ่งเจ็บ

ล้มหนึ่งครั้ง...ลามเกินหนึ่งเจ็บ

เพราะการล้มในผู้สูงอายุ มีความรุนแรงมากกว่าในคนทั่วไป ทั้งการลุกลามไปยัง
อวัยวะต่าง ๆ และกระทบไปถึงชีวิตประจำวันของสมาชิกในครอบครัวที่ต้องแบ่ง
เวลามาดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิดขึ้น 

โรงพยาบาลกรุงเทพ จึงอยากชวนให้ทุกคนหันมาทำความรู้จักสาเหตุ
และผลกระทบของการล้มใน "ผู้สูงอายุ"

ล้มแล้วศีรษะแตก..อาจเกิดเลือดออกในสมองได้

ล้มแล้วหลังกระแทก ฟกช้ำ..อาจรุนแรงจนกระดูกหักได้

ล้มรุนแรงกระดูกสะโพกหัก..อาจนอนติดเตียงและเสียชีวิตได้

สถิติน่ารู้เกี่ยวกับการล้ม

*ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค 2564

มีผู้สูงอายุประสบเหตุพลัดตกหกล้ม ปีละกว่า

3 ล้านราย

เสียชีวิตเฉลี่ย วันละ

3 ราย

เป็นเพศหญิงมากกว่า

1.5 เท่า

*ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค 2564

80%

ผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่เหมาะสม

30%

เกิดเหตุในห้องน้ำ

เพราะแผนกฉุกเฉิน
โรงพยาบาลกรุงเทพ

มีทีมแพทย์ที่มีความชำนาญการด้านการดูแลผู้
สูงอายุในแต่ละแขนง ตลอด 24 ชม. จึงสามารถวินิจฉัยอาการได้ตรงจุด ทั้งแพทย์ อุบัติเหตุฉุกเฉิน, แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูก, แพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ, แพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด

เป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ ก็เสี่ยงล้มได้

แม้ผู้สูงอายุจะใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว แต่รู้หรือไม่ว่ายาบางชนิด ก็ส่งผลให้เกิดภาวะ มึนงง ง่วงซึม และอาจนำไปสู่การล้ม ที่รุนแรงได้

ล้มแล้วทำอย่างไร

อุบัติเหตุฉุกเฉินโทร 1724

สำรวจ
ให้ผู้ดูแลสำรวจดูก่อนว่ามีการบาดเจ็บเกิดขึ้นหรือไม่ หากบาดเจ็บรุนแรง เช่น กระดูกหัก ไม่ควรให้ผู้สูงอายุลุกขึ้นเอง เพราะอาจทำให้กระดูกเคลื่อน
หากบาดเจ็บเล็กน้อย
เช่น มีรอยถลอกนิดหน่อย สามารถลุกได้เอง แต่ถึงอย่างไรก็ควรพบแพทย์ภายหลัง เพื่อประเมินสุขภาพว่ามีอันตรายเกิดขึ้นหรือไม่ และทำการรักษาให้ถูกต้องเหมาะสมตามลำดับ
หากบาดเจ็บรุนแรง (หรือหมดสติ)
ควรให้ผู้สูงอายุนอนอยู่ในท่าเดิม และโทรแจ้งให้ผู้ชำนาญการมาทำการเคลื่อนย้ายร่างผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล

1724

กำลังโทร...

ศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

โทรฉุกเฉิน 1724

บัตรสมาชิกชีววัฒนะ

ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่น ค่ารถบริการฉุกเฉิน ค่าห้องพัก ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมถึงมอบชุดตรวจสุขภาพฟรีและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพื่อการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน

แพ็กเกจตรวจและโปรโมชั่น

บทความที่เกี่ยวข้อง