ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤติ

ทารกที่อยู่ในภาวะวิกฤติจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะทารกกลุ่มเสี่ยงอย่างทารกเกิดก่อนกำหนด เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤติ โรงพยาบาลกรุงเทพจึงให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติ โดยมีหน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ (NICU) และแผนกกุมารเวชบำบัดวิกฤติ (PICU) ที่มีกุมารแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพ พร้อมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมให้การเฝ้าระวังและดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทารกเติบโตอย่างแข็งแรงในทุกช่วงวัย

หน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ (NICU)

หน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit : NICU) โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติตลอด 24 ชั่วโมง โดยภาวะวิกฤติหรือความผิดปกติของทารกที่ต้องได้รับการดูแลรักษา ได้แก่

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ (หรือหลังอายุครรภ์ 42 สัปดาห์)
  • ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือมากกว่า 4,000 กรัม
  • ทารกมีน้ำหนักผิดปกติเมื่อเทียบกับอายุครรภ์
  • ทารกแฝด
  • ทารกตรวจพบความผิดปกติ เช่น ขาดออกซิเจน
  • ทารกมีท่าผิดปกติในครรภ์ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง
  • ทารกเกิดความผิดปกติระหว่างคลอด
  • ทารกพิการแต่กำเนิด

บริการของหน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ

ทารกแรกเกิดวิกฤติจำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยเร็วที่สุด หน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit : NICU) โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมให้บริการ

  • กู้ชีพและให้ออกซิเจนทารก
  • ปรับอุณหภูมิร่างกายทารก
  • ควบคุมการติดเชื้อ
  • ให้สารน้ำ สารอาหาร และโภชนาการที่เหมาะสม
  • กุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดทำงานร่วมกับสูติแพทย์
  • อุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยในการดูแลรักษา อาทิ ตู้อบ เครื่องช่วยหายใจความถี่สูง เครื่องจ่ายก๊าซไนตริกออกไซด์ เครื่องส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เป็นต้น

แผนกกุมารเวชบำบัดวิกฤติ (PICU)

แผนกกุมารเวชบำบัดวิกฤติ (Pediatric Intensive Care Unit; PICU) โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมบริการผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติเป็นภาวะที่เจ็บป่วยรุนแรงซับซ้อน เนื่องจากมีอาการสัญญาณชีพไม่คงที่ รวมถึงสถานการณ์วิกฤติที่ไม่คาดคิด ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจาก

  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคระบบประสาทที่ผิดปกติ
  • การติดเชื้อที่รุนแรง
  • ระบบต่อมไร้ท่อผิดปกติ
  • ระบบการทำงานของหลายอวัยวะล้มเหลว
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะต้องได้รับการผ่าตัดเนื่องจากโรคทางศัลยกรรมหัวใจ
  • โรคศัลยกรรมสมอง โรคศัลยกรรมทั่วไป โรคศัลยกรรมกระดูก ฯลฯ

บริการของแผนกกุมารเวชบำบัดวิกฤติ

ผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด แผนกกุมารเวชบำบัดวิกฤติ (Pediatric Intensive Care Unit; PICU) โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมให้บริการ

  • เฝ้าระวังติดตามการตอบสนองต่อการรักษาและอาการของโรคที่เปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
  • เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติทั้งทางบกและทางอากาศ ดูแลจนถึงส่งมอบยังโรงพยาบาลปลายทาง
  • ดูแลโดยทีมกุมารแพทย์เวชบำบัดวิกฤติ ทีมกุมารแพทย์ และศัลยแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ทีมพยาบาลและทีมสหวิชาชีพที่มีความความรู้ชำนาญ ทักษะการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤติตลอด 24 ชั่วโมง
  • ใช้อุปกรณ์การแพทย์และเครื่องมือเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

ทีมแพทย์ผู้ดูแล

พญ.เสาวนีย์ ชัยศุภรัศมีกุล

พญ.ดาริน บรรจงศิลป์


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤติ
โรงพยาบาลกรุงเทพ