เครื่องช่วยฟังสิ่งจำเป็นสำหรับใคร

ปัญหาเรื่องการได้ยิน เป็นปัญหาที่มักถูกละเลย จากผู้ที่มีความผิดปกติเสมอ ทั้ง ๆ ที่เป็นปัญหาสำคัญ ปัญหาหนึ่ง เพราะผู้ที่มีความผิดปกติส่วนใหญ่ มักจะไม่มีอาการเจ็บปวด และอาการมักจะเป็นแบบ ค่อยเป็นค่อยไป ทางการแพทย์ถือว่า ผู้ที่มีความผิดปกติ ทางการได้ยิน เป็นความพิการทางร่างกายกลุ่มหนึ่งเลย ในต่างประเทศ มักจะกล่าวว่า Deaf is a silent handicap คือ ผู้ที่พิการ ทางการได้ยิน เป็นความพิการที่ซ่อนเร้นไม่สามารถเห็นได้ ด้วยตาเปล่า เหมือนผู้พิการกลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจาก ผู้พิการทางการได้ยิน ที่หูหนวกเลยแล้ว ยังมีกลุ่มที่มีความผิดปกติทางการได้ยิน ตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงขึ้นรุนแรง กลุ่มผู้ที่มีความผิดปกติ ทางการได้ยินเหล่านี้ ถ้าพบในเด็ก อาจจะทำให้เด็ก มีพัฒนาการทางภาษาช้า พูดไม่ชัด การเรียนแย่ ในผู้ใหญ่ อาจจะทำให้เกิดปัญหา ในการสื่อสารกับบุคคลอื่น การทำงาน หรือแม้กระทั่ง การดำรงชีพอย่างเป็นสุข ก็จะได้รับผลกระทบ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ ปัจจุบัน เครื่องช่วยฟัง แบ่งเป็นหลายประเภท ที่เราคุ้นเคยกันดี คือ แบบกล่อง และแบบทัดหลังหู ซึ่งใช้กันทั่วไป แต่ทั้ง 2 แบบ ยังมีขนาดใหญ่ และมองเห็นได้ชัดเจน ทำให้มีการพัฒนา เครื่องช่วยฟัง จนมีขนาดเล็ก สามารถใส่ในรูหูได้ ซึ่งจะทำให้มองไม่เห็น จากภายนอก จึงทำให้ไม่มีปัญหา เรื่องความสวยงาม นอกจากนี้ยังมีเครื่องช่วยฟังระบบ “ดิจิตอล” ซึ่งมีความคมชัด มากกว่าแบบเดิม และมีความสามารถ ลดเสียงรบกวน อันเป็นสาเหตุสำคัญ ของการไม่ใช้ เครื่องช่วยฟัง เนื่องจากผู้ป่วยรำคาญ ได้อีกด้วย การเลือกเครื่องช่วยฟัง แต่ละประเภทให้เหมาะสม ขึ้นอยู่กับอายุ อาชีพ ความต้องการส่วนบุคคล เนื่องจาก ถ้าเลือกเครื่องช่วยฟัง ไม่เหมาะกับผู้ใช้ จะทำให้ผู้ใช้เครื่องเบื่อ และไม่ค่อยยอมใช้ ทำให้ผู้มีความผิดปกติ ทางการได้ยิน ไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด จากเครื่องช่วยฟังนั้นๆ ในปัจจุบัน ศูนย์หู คอ จมูก รพ.กรุงเทพ มีการให้บริการ ตรวจหาความผิดปกติ ทางการได้ยิน ได้ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงผู้สูงอายุ และสามารถให้การฟื้นฟู สมรรถภาพทางการได้ยิน ให้กับผู้ที่มีความผิดปกติ ทางการได้ยิน โดยการใส่ เครื่องช่วยฟัง ที่เหมาะสม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น ถ้าท่านพบว่า บุคคลรอบตัวท่าน เริ่มมีความผิดปกติ ทางการได้ยิน โปรดอย่ารอ จนเขาเหล่านั้น ไม่สามารถจะให้การแก้ไข หรือฟื้นฟูสมรรถภาพ ทางการได้ยินได้ รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจ และฟื้นฟูสมรรถภาพ ก่อนจะสายเกินไป


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์หู คอ จมูก
ชั้น 2 อาคาร B โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ

วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 19.00 น
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 16.00 น.