ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

การฟื้นฟูโดยใช้หุ่นยนต์ฝึกเดิน Robotic Gait Training

การฟื้นฟูโดยใช้หุ่นยนต์ฝึกเดิน-Robotic-Gait-Training

หุ่นยนต์ฝึกเดิน Robotic Gait Training

Robotic assisted gait training (Walkbot) เป็นหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ที่มีรูปแบบการเดินผิดปกติ โดยอ้างอิงจากรูปแบบการเดินพื้นฐานที่บันทึกไว้ในระบบสั่งการทำงาน ก่อนที่ผู้ป่วยจะสวมใส่หุ่นยนต์ ต้องบันทึกข้อมูลทางกายภาพของผู้ป่วยเข้าสู่ระบบสั่งการ เพื่อปรับความยาวขาของหุ่นยนต์ตามข้อมูลสรีระของผู้ป่วย การก้าวเท้าจะถูกกำหนดเป็นหน่วยเซนติเมตรและความเร็วของลู่เดินจะถูกกำหนดเป็นหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง

ผู้ป่วยจะต้องสวมใส่เสื้อนิรภัยทุกครั้งก่อนติดตั้งอุปกรณ์สร้างระบบน้ำหนักย้อนกลับโดยระบบน้ำหนักย้อนกลับเป็นระบบที่ช่วยในการพยุงน้ำหนักตัวของผู้ป่วยขณะเดินและเพื่อความปลอดภัยหุ่นยนต์จะหยุดทำงานทันทีเมื่อเกิดแรงดึงการชักกระตุกและแรงต้านเกินรับได้ขณะที่ฝึกเดินหากเกิดความผิดปกติผู้ป่วยหรือนักกายภาพบำบัดสามารถจบการฝึกโดยการใช้ปุ่มหยุดฉุกเฉินที่วางบนบาร์ขนานได้ทันที


กลุ่มที่ใช้หุ่นยนต์ฝึกเดิน

การใช้หุ่นยนต์ฝึกเดิน (Robotic assisted gait training) เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้จากระบบประสาทสั่งการ ระบบกล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่ผิดปกติ ได้แก่

  • หลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • ภาวะสมองพิการ (Cerebral palsy: CP)
  • พาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
  • ภาวะขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง (Paraplegia: SCI)
  • อัมพาตครึ่งซีก (Hemiplegic patients)
  • อัมพาตครึ่งล่าง (Paraplegic patients)
  • ปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis: MS)
  • ภาวะบาดเจ็บสมอง (Traumatic brain injury: TBI)
  • ใส่ข้อเทียมโลหะทดแทน (Endoprosthesis e.g. total hip endoprostheses)
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle weakness due to lack of mobility)
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก (Spinal muscular atrophy: SMA)
  • ข้อเสื่อม (Degenerative joint disease of the lower limbs)

เตรียมตัวก่อนใช้หุ่นยนต์ฝึกเดิน

  • การรักษาโดยหุ่นยนต์ฝึกเดินใช้เวลาประมาณ 45 นาที / ครั้ง
  • ใส่เสื้อผ้ารัดกุม ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหว ไม่หลวมหรือกระชับจนเกินไป
  • อุปกรณ์สวมใส่สำหรับเข้ารับการรักษา ได้แก่  รองเท้าผ้าใบหุ้มข้อ ถุงเท้ายาว กางเกงขายาว
  • พักผ่อนให้เพียงพอก่อนเข้ารับการรักษาโดยหุ่นยนต์ฝึกเดิน
  • แนะนำให้รักษากับหุ่นยนต์ฝึกเดินหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงระหว่างการรักษา เช่น จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ และห้ามรับประทานอาหารระหว่างการฝึกเดิน
  • แจ้งนักกายภาพบำบัดทันทีหากมีอาการผิดปกติ เช่น เหนื่อยมาก คลื่นไส้ หน้ามืด เจ็บหน้าอก ใจสั่น เวียนศีรษะ ปวดปัสสาวะหรือปวดอุจจาระ เป็นต้น

ข้อห้ามการใช้หุ่นยนต์ฝึกเดิน

  • มีน้ำหนักเกิน 135 กิโลกรัม
  • เพิ่งผ่านการรักษาการหดตัวของกล้ามเนื้อ
  • กระดูกไม่แข็งแรง
  • บาดเจ็บเป็นแผลที่ช่วงล่างและสะโพก
  • มีปัญหาในระบบไหลเวียนเลือด
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ความผิดปกติในการรับรู้ขั้นรุนแรง ไม่ร่วมมือหรือต่อต้าน
  • ผู้ป่วยที่ให้สารทางหลอดเลือดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • ผู้ที่มีการเติบโตของขาและสันหลังผิดรูปร่างอย่างมาก (กระดูกหรือไขกระดูกเติบโตผิดปกติ)
  • ผู้ที่มีปัญหาด้านหลอดเลือดช่วงล่างอย่างรุนแรง
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้จากโรคเป็นหนองที่กระดูก แผลไฟไหม้หรือติดเชื้อ ผ่าตัดสะโพก เข่า ข้อเท้า

ข้อควรระวังในการใช้หุ่นยนต์ฝึกเดิน

ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการรักษา เช่น แผลถลอก รอยแดง รอยช้ำบริเวณที่สวมเครื่องช่วยพยุง เป็นต้น


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ชั้น 3 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู (อาคาร R)