หน่วยดูแลแผลบาดเจ็บจากความร้อน

  1. ประเมินสภาพบาดแผลไหม้ทั่วไปหลังจากดับความร้อน
  2. ตรวจร่างกายเพื่อหาการบาดเจ็บของอวัยวะส่วนต่าง ๆ และวางแผนการรักษาในบริเวณที่มีความรุนแรง และต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วนก่อน
  3. พิจารณาและซักถามประวัติการบาดเจ็บ ได้แก่ วิธีการเกิดบาดแผล สถานที่เกิดอุบัติเหตุ
  4. ตรวจบาดแผลไฟไหม้ของผู้ป่วยทั่วร่างกาย
  5. ประเมินความลึกและขนาดของบาดแผลผู้ป่วย
  6. กำหนดวิธีการรักษา โดยจะแตกต่างกันตามความรุนแรงของผู้ป่วย ในกรณีที่รุนแรงน้อยสามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอก ได้แก่
    • ล้างบาดแผลทำความสะอาด โดยใช้นวัตกรรมทำความสะอาดแผลโดยใช้เครื่องแรงดันน้ำ (Versajet)
    • ใช้ยาทาฆ่าเชื้อภายนอก (Topicial Antibiotic)
    • หากบาดแผลไม่หายภายใน 3 สัปดาห์หรือขนาดใหญ่อาจใช้ผิวหนังมาปะ (Skin Graft)
    • ในกรณีที่บาดเจ็บรุนแรงมากต้องได้รับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ได้แก่
    • ดูแลสภาพทั่วไป การสูญเสียน้ำ เกลือแร่ และโปรตีน
    • ป้องกันการติดเชื้อ
    • ล้างบาดแผลทำความสะอาด
    • กำจัดเนื้อตายที่เป็นต้นตอของเชื้อแล้วทำความสะอาด เพราะเนื้อตายขวางการไหลเวียนของเลือด การตัดเนื้อตายจะช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการหายของแผลและกระตุ้นให้เกิดเนื้อเยื่อใหม่ ๆ โดยการกำจัดเนื้อตายจะต้องรอให้เนื้อตายแยกชั้นกับเนื้อดีประมาณ 3 – 5 วัน

    ***ข้อจำกัดในการตัดเนื้อตาย คือ ใน 1 วันไม่สามารถตัดได้เกิน 40% ของร่างกาย โดยปกติศัลยแพทย์จะตัดเนื้อตายไม่เกินวันละ 20% เพราะผู้ป่วยจะเสียเลือดมาก ที่สำคัญควรใช้เวลาผ่าตัดไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพราะหากใช้เวลาผ่าตัดนาน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้

    • ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น Compartment Syndrome
    • การเสริมสร้างภูมิต้านทานของผู้ป่วย
    • การซ่อมแซมโดยการใช้ผิวหนังมาปะผิวหนังที่ถูกทำลาย (Skin Graft) เพื่อปิดแผลโดยเร็วที่สุด
    • ใช้เทคนิคปลอดเชื้อในการดูแลบาดแผล
    • ในกรณีบาดเจ็บรุนแรงมากและอันตรายจะต้องให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกที่มีอุณหภูมิและการถ่ายเทอากาศเหมาะสม
  7. การให้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่แผลมีการติดเชื้อที่มีอาการแสดง ได้แก่ Topical Antibacterial Agent
  8. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ในกรณีที่คนไข้ได้รับบาดแผลจากไฟฟ้า

เพราะปัญหาบาดแผลไหม้สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ที่สำคัญส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจึงให้ความสำคัญด้วยการจัดตั้ง Burn Unit สำหรับดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากความร้อนและเกิดบาดแผลไหม้ที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน ด้วยการรักษาแบบองค์รวมโดยทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์และเทคนิคการรักษาบาดแผลที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง


สอบถามเพิ่มเติมที่
หน่วยการดูแลแผลบาดเจ็บจากความร้อน
ชั้น 1 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ