โรคจิตเภท (Schizophrenia)

1 นาทีในการอ่าน
โรคจิตเภท (Schizophrenia)

แชร์

รู้จักโรคจิตเภท

โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของบุคลิกภาพ มีความผิดปกติด้านการรับรู้ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นแบบจำเพาะและอารมณ์เป็นแบบไม่เหมาะสม หรือ Blunted สติสัมปชัญญะและเชาวน์ปัญญามักดีอยู่ แม้ว่าจะมีการสูญเสียการรับรู้

 

อาการโรคจิตเภท

  1. ความคิดหลงผิด (Delusion) ที่พบบ่อย เช่น คิดว่ามีคนปองร้าย คิดว่าตนเองถูกควบคุมจากอำนาจภายนอก คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ มีอำนาจ หรือความสามารถพิเศษ

  2. การรับรู้ อาการประสาทหลอนทางด้านต่าง ๆ ที่พบบ่อย คือ หูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูดว่า หรือให้ทำตาม หรือไม่มีความหมาย

  3. การสื่อสาร พูดสับสน ไม่ปะติดปะต่อ เปลี่ยนเรื่องพูดเร็ว ไม่เชื่อมโยง หรือบางรายพูดน้อย ไม่ค่อยตอบคำถาม

  4. พฤติกรรมผิดจากเดิมเคยเป็น เช่น  สกปรก แปลก วุ่นวาย ตะโกน โดยไม่มีอะไรกระตุ้น พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย บางรายขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา เก็บตัว นั่งเฉย ๆ นาน ๆ ไม่สนุกสนาน

  5. อารมณ์ แสดงอารมณ์ลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย ไม่สบตา



รักษาโรคจิตเภท

  1. พบจิตแพทย์เพื่อเข้ากระบวนการบำบัดโดยใช้ยาและการบำบัดตามความเหมาะสม อาจนอนโรงพยาบาลหรือไม่แล้วแต่อาการผู้ป่วย

  2. บำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องจนกว่าแพทย์จะเปลี่ยนแปลงการรักษา

  3. ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา

 

ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตนั้นต้องการความรักและความเข้าใจจากครอบครัว คนใกล้ชิด และสังคม เมื่อผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้องจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ดูแลตนเองได้ เข้าสังคม และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ชั้น 5 อาคาร C โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.

แชร์