ต้อเนื้อ

1 นาทีในการอ่าน
ต้อเนื้อ

แชร์

รู้จักต้อเนื้อ

ต้อเนื้อ (Pterygium) คือ ภาวะที่ผังผืดของเยื่อบุตา เป็นเยื่อสีแดงยื่นเข้าไปสู่ตาดำ มักพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา ต้อเนื้อจะค่อย ๆ ลุกลามเข้าตาดำ จนค่อย ๆ ปิดรูม่านตา ซึ่งจะปิดบังการมองเห็นทำให้ตามัว


สาเหตุต้อเนื้อ

แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดต้อเนื้อ แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเผชิญกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ซึ่งมักพบต้อเนื้อในคนที่อาศัยในเขตอากาศร้อน ต้องทำงาน หรือใช้ชีวิตประจำวันกลางแจ้ง ลมแรง เผชิญ ฝุ่น ควัน ทรายเป็นประจำจะพบว่าเป็นต้อเนื้อมากกว่าปกติ


อาการต้อเนื้อ

อาการส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่
  • ตาแดง
  • ระคายเคืองตา
  • คันตา
  • เห็นภาพไม่ชัด
***ในรายที่เป็นน้อยอาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่อต้อเนื้อลุกลามเข้ามาสู่กระจกตาจะมีผลต่อการมองเห็น


รักษาต้อเนื้อ

ต้อเนื้อที่เป็นน้อยอาจได้รับยาหยอดตาลดอาการอักเสบ ช่วยลดการระคายเคืองตา แต่ไม่สามารถรักษาต้อเนื้อให้หายไปได้ หากต้อเนื้อมีอาการมากจนมีผลต่อการมองเห็นจึงพิจารณาผ่าตัดลอกต้อเนื้อ

การผ่าตัดลอกต้อเนื้อมี 2 วิธี คือ

  1. การลอกต้อเนื้อ เป็นการลอกเนื้อที่ตาขาวและส่วนที่คลุมตาดำออก ซึ่งการลอกวิธีนี้จะทำให้การกลับมาเป็นซ้ำได้สูง

  2. การลอกต้อเนื้อและปลูกเนื้อเยื่อบริเวณลอกเนื้อออกไป เนื้อเยื่อที่นำมาปลูก อาจเป็นเนื้อเยื่อจากรก หรือเยื่อบุตาของคนไข้เอง อาจใช้เวลานานขึ้น แต่การกลับเป็นซ้ำค่อนข้างน้อย

 

ป้องกันต้อเนื้อ

หลีกเลี่ยงการเผชิญสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยของการเกิดต้อเนื้อ โดยสวมแว่นกันแดด หมวก เมื่อต้องเผชิญแสงแดด ลม ฝุ่น ควัน ซึ่งแว่นกันแดดสามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ
จันทร์-ศุกร์ 08.00 - 19.00 น.
เสาร์ 08.00 - 17.00 น
อาทิตย์ 08.00 - 16.00 น.

แชร์