ข้อดีข้อเสียต้องรู้เมื่อเทคฮอร์โมน

2 นาทีในการอ่าน
ข้อดีข้อเสียต้องรู้เมื่อเทคฮอร์โมน

แชร์

การเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างความเป็นชายและสร้างความเป็นหญิง ไม่ว่าจะชนิดไหนล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ จึงไม่ควรละเลยในการหาข้อมูลอย่างละเอียดและ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิดเมื่อตัดสินใจเทคฮอร์โมน

ช่องทางบริหารยาฮอร์โมนมีกี่ชนิด

การเทคฮอร์โมนเพื่อข้ามเพศมี 3 ชนิด ได้แก่ 

  1. ฮอร์โมนชนิดฉีดจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  2. ฮอร์โมนชนิดทาเป็นเจลทาที่บริเวณผิวหนัง 
  3. ฮอร์โมนชนิดรับประทาน

ฮอร์โมนสร้างความเป็นชายมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

การเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างความเป็นชาย (Masculinizing Hormone) ข้ามจากเพศหญิงไปเป็นเพศชาย ช่วยปรับเปลี่ยนสรีระให้เป็นเพศชาย ได้แก่ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) แต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ที่ได้รับความนิยมคือฮอร์โมนชนิดฉีดและเจลทาผิวหนัง ไม่แนะนำฮอร์โมนชนิดรับประทาน

ชนิดฮอร์โมน

ข้อดี

ข้อเสีย

ฮอร์โมนชนิดฉีดทุก 2 สัปดาห์
(อาจปรับระยะเวลาได้ในแต่ละราย)

  • ปรับขนาดยาง่าย
  • ระดับยาในเลือดขึ้นลงในช่วงเริ่มต้นและช่วงปลายก่อนฉีดเข็มใหม่
  • อาจเกิดผลข้างเคียงเมื่อเปลี่ยนระดับยา
  • อารมณ์อาจขึ้น ๆ ลง ๆ

ฮอร์โมนชนิดฉีดทุก 3 เดือน

  • ระดับยาในเลือดค่อนข้างคงที่ 
  • ไม่ต้องมาฉีดยาบ่อย
  • เจ็บบริเวณที่ฉีดเพราะปริมาณยาเยอะ

ฮอร์โมนชนิดทา

  • ระดับยาในเลือดค่อนข้างคงที่ 
  • ไม่ต้องฉีดยา
  • ต้องทาประจำทุกวัน 
  • อาจระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่ทายา
  • อาจส่งผ่านยาไปสู่คนใกล้ชิด

ฮอร์โมนชนิดรับประทาน

  • สะดวกในการรับประทาน
  • เกิดปัญหาในการดูดซึมยา
  • ระดับยาในเลือดไม่คงที่ 
  • อาจรบกวนการทำงานของตับ

ข้อดีข้อเสียต้องรู้เมื่อเทคฮอร์โมน


ฮอร์โมนสร้างความเป็นหญิงมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

การเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างความเป็นหญิง (Feminizing Hormone) ข้ามจากเพศชายไปเป็นเพศหญิง ช่วยปรับเปลี่ยนสรีระให้เป็นเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) แต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ที่ได้รับความนิยมคือฮอร์โมนชนิดทาและฮอร์โมนชนิดรับประทาน

ชนิดฮอร์โมน

ข้อดี

ข้อเสีย

ฮอร์โมนชนิดฉีด

  • ไม่จำเป็นต้องฉีดบ่อย
  • ระดับยาไม่ขึ้นกับการดูดซึมจากทางเดินอาหาร
  • ระดับยาในเลือดอาจสูงเกินระดับหลังฉีดในระยะแรก
  • อาจเจ็บบริเวณที่ฉีด

ฮอร์โมนชนิดทา

  • ระดับยาในเลือดคงที่ 
  • ไม่รบกวนการทำงานของตับ
  • ลดความเสี่ยงหลอดเลือดดำอุดตัน
  • อาจระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่ทาเล็กน้อย 

ฮอร์โมนชนิดรับประทาน

  • ปรับขนาดยาได้ง่าย 
  • ใช้งานได้สะดวก
  • ต้องรับประทานทุกวัน
  • อาจมีผลต่อการทำงานของตับ
  • เพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดดำอุดตัน

ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไรหลังเทคฮอร์โมน

หลังเทคฮอร์โมนร่างกายจะค่อย ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างความเป็นชายในผู้ชายข้ามเพศ (Transman) จะทำให้มีขนขึ้นตามร่างกาย เสียงทุ้ม ประจำเดือนขาด กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เป็นต้น ส่วนในการเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างความเป็นหญิงในผู้หญิงข้ามเพศ (Transwomen) จะทำให้เต้านมเริ่มขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณขนน้อยลง สรีระเล็กลง เสียงเล็กแหลม ผิวเรียบเนียนขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแตกต่างกัน ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางและไปตามนัดหมายทุกครั้ง

ดูแลตัวตนของคุณอย่างเข้าใจ


สอบถามเพิ่มเติมที่
คลินิก be YOURSELF services
ชั้น 2 โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดบริการ
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 07.00 - 20.00 น.
วันเสาร์ เวลา 08.00 - 20.00 น.

แชร์