เตรียมตัวก่อนและหลังผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน
2 นาทีในการอ่าน

แชร์
การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมตัวก่อนและหลังผ่าตัดเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เตรียมก่อนผ่าตัด
ก่อนเข้ารับการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้อง
- ตรวจร่างกายโดยละเอียด เช่น ตรวจเลือด, อัลตราซาวนด์, เอกซเรย์, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, ตรวจสมรรถภาพปอด เป็นต้น
- ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารให้มั่นใจว่าไม่มีความผิดปกติใด ๆ ของกระเพาะอาหาร ก่อนที่จะทำการผ่าตัด
- เตรียมความพร้อมด้านโภชนาการจากนักกำหนดอาหาร โดยจะมีประเมินและการปรับการรับประทานอาหารหลังทำการผ่าตัด
- ทดสอบสภาพจิตใจกับนักจิตวิทยาเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีโรคทางจิตเวชสำคัญที่ห้ามการผ่าตัด และเตรียมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังผ่าตัด
- ประเมินภาวะโรคที่มีความเสี่ยงก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ตรวจการนอนหลับ STOP – BANG และตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ Sleep Test
- เรียนรู้วิธีออกกำลังก่อนและหลังผ่าตัดอย่างถูกต้องกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- งดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 4 สัปดาห์
- งดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการผ่าตัด 6 – 8 ชั่วโมง ถ้าต้องทานยาให้เป็นไปตามที่แพทย์สั่ง
- หากไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์และพยาบาล
- ถ้าอยู่ในระหว่างรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์ว่าสามารถรับประทานชนิดใดและต้องหยุดชนิดใดก่อนผ่าตัด
- กรุณาแจ้งแพทย์หากรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือประวัติการเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือด
- ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับยาฉีดป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันก่อนการผ่าตัดกระเพาะอาหาร 12 ชั่วโมง
ดูแลหลังผ่าตัด
หลังเข้ารับการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้อง
- รับสารอาหารและน้ำทางสายน้ำเกลือจนกว่าจะรับประทานอาหารเองได้
- ใส่ปลอกสวมขาเพื่อป้องกันภาวะแข็งตัวในเส้นเลือดดำ โดยถอดออกเมื่อผู้ป่วยขยับตัวได้เอง และเมื่อขยับตัวได้ควรเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็ว เพื่อให้ทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติภายใน 2 – 3 วัน
- หากมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ปรึกษาแพทย์ทันที เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ > 120 ครั้ง ต่อนาที, มีไข้ 37.8 องศาเซลเซียส หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
- ควบคุมอาหารตามที่นักกำหนดอาหารวางแผนและให้คำปรึกษาอย่างเคร่งครัด
- การรับประทานอาหารหลังผ่าตัด แบ่งออกเป็น
– หลังผ่าตัดสัปดาห์แรก รับประทานได้เฉพาะอาหารเหลวครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่อัดลมและไม่เติมน้ำตาล ซุปใส น้ำผัก น้ำผลไม้ โยเกิร์ต เป็นต้น
– หลังผ่าตัดสัปดาห์ที่ 3 รับประทานอาหารชิ้นเล็ก ๆ โดยดื่มน้ำก่อนทานอาหาร 15 – 30 นาที เช่น ข้าวต้ม เป็นต้น เพื่อเตรียมปรับสู่การทานอาหารปกติ โดยทานปริมาณน้อย เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน - สามารถเริ่มออกกำลังเบา ๆ ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 หลังการผ่าตัด และงดยกของหนัก 3 เดือน
- พบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัดเพื่อตรวจเช็กร่างกาย
- หากมีอาการผิดปกติหรือคำถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่ Call Cancer โทร. 1719
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
- รับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน ห้ามทานจุบจิบ
- หยุดทานทันทีที่รู้สึกอิ่ม
- ตัดอาหารชิ้นเล็ก เคี้ยวให้ละเอียดจนเหลวก่อนทาน
- ดื่มน้ำเปล่าระหว่างมื้อบ่อย ๆ โดยจิบทีละน้อย เพื่อป้องกันการขาดน้ำ และไม่ควรดื่มน้ำก่อนและหลังอาหาร 30 นาที
- จำกัดปริมาณน้ำตาล 15 กรัม หรือน้อยกว่าต่อ 1 มื้อ
- ไม่ควรดื่มน้ำอัดลม กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำหวาน
- เน้นทานอาหารโปรตีนสูงอย่างเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
- เลี่ยงอาหารประเภทแป้งและไขมัน
- เสริมวิตามินและแร่ธาตุตามคำแนะนำของแพทย์
- ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
“สิ่งสำคัญที่ช่วยให้การผ่าตัดรักษาโรคอ้วนประสบความสำเร็จคือ การควบคุมพฤติกรรมหลังผ่าตัด”
สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์ผ่าตัดและรักษาโรคอ้วน
ชั้น 1 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.
แชร์