Preimplantation Genetic Testing for fertility ตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว

2 นาทีในการอ่าน
Preimplantation Genetic Testing for fertility ตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว

แชร์

เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
ด้วยการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว (PGT)”


ทำความรู้จัก
Preimplantation Genetic Testing (PGT)

Preimplantation Genetic Testing (PGT) เป็นการตรวจวิเคราะห์เพื่อดูความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์ มีโครโมโซมที่ปกติและปราศจากโรคทางพันธุกรรมก่อนการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งจะเพิ่มอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการตั้งครรภ์


รูปแบบการตรวจ Preimplantation Genetic Testing (PGT)

การตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการฝังตัว มี 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. Preimplantation genetic testing for Aneuploidy (PGT-A) เป็นการตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซมของร่างกายซึ่งมีทั้งหมด 22 คู่และโครโมโซมเพศ 1 คู่คือ XX หรือ XY โดยตัวอ่อนที่ปกติจะต้องมีโครโมโซมครบจำนวน 23 คู่ การตรวจ PGT-A ปัจจุบันเราใช้เทคนิค Next Generation sequencing (NGS) ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบันและเป็นที่แพร่หลายกันทั่วโลก
  2. Preimplantation genetic testing for monogenic disorder (PGT-M) เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคพันธุกรรมแบบยีนเดี่ยวเพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่ได้รับการถ่ายทอดยีนผิดปกติมาจากทางบิดาหรือมารดา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคได้ ตัวอย่างของโรคทางพันธุกรรมแบบยีนเดี่ยวที่พบบ่อยในประเทศไทย คือ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
  3. Preimplantation genetic for structural rearrangement (PGT-SR) เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างของโครโมโซม ความผิดปกติลักษณะนี้เกิดจากการสลับชิ้นส่วนของโครโมโซมโดยไม่มีการเพิ่มหรือการลดจำนวนโครโมโซม บิดาหรือมารดาที่มีการสลับชิ้นส่วนของสองโครโมโซม (Reciprocal Translocation) อาจจะมีผลทำให้เซลล์สืบพันธุ์ของบิดาหรือมารดามีสารพันธุกรรมไม่ครบหรือมีบางส่วนเกินมา ทำให้เกิดตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ดังนั้นการตรวจ PGT-SR จะช่วยในการคัดเลือกตัวอ่อนที่โครโมโซมผิดปกติออกไปได้

ข้อดีของการตรวจ Preimplantation Genetic Testing (PGT)

ข้อดีของการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อนช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์และลดความเสี่ยงของการแท้งบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี, ผู้หญิงที่มีประวัติแท้งบุตรมามากกว่า 2 ครั้งโดยมีสาเหตุจากทารกมีโครโมโซมผิดปกติหรือหาสาเหตุไม่ได้, คู่สมรสที่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัวหรือบุตรคนแรกมีโครโมโซมผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม, คู่สมรสที่ทำเด็กหลอดแก้วและได้รับการย้ายตัวอ่อนมามากกว่า 2 รอบและยังไม่ประสบความสำเร็จ 


ทำไมต้องตรวจ PGT ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมให้บริการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและบุคลากรที่มากด้วยประสบการณ์ในการตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากและความผิดปกติของตัวอ่อน ทุกขั้นตอนในการตรวจโครโมโซมจะใช้ปริมาณเซลล์น้อย ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อตัวอ่อนในภาพรวม ผลการตรวจที่ได้มีความถูกต้องและตรงจุด เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์และเติมเต็มครอบครัวที่สมบูรณ์


Precision Medicine วางแผนสุขภาพเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์”


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก
ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ
จันทร์ - เสาร์ เวลา 8.00 - 16.00 น.

แชร์