อวัยวะเสี่ยงบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

4 นาทีในการอ่าน
อวัยวะเสี่ยงบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

แชร์

การได้รับแรงกระแทกทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการเล่นกีฬาอาจทำให้เกิดการเคล็ด ฟกช้ำ กระดูกหัก กระดูกเคลื่อน กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นฉีกขาดได้ โดยเฉพาะการบาดเจ็บที่สะสมทีละเล็กทีละน้อยจากการเล่นกีฬา ซึ่งส่วนมากมักเกิดกับข้อต่อและบริเวณโดยรอบ อาทิ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น กระดูกและกระดูกอ่อน แผ่นกระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูก เยื่อหุ้มและเอ็นหุ้มข้อต่อ เส้นประสาทและเส้นเลือด ที่สำคัญร่างกายส่วนล่างมักเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬามากกว่าร่างกายส่วนบน ดังนั้นการรู้เท่าทันเกี่ยวกับอวัยวะที่เสี่ยงจะได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาคือเรื่องที่ต้องใส่ใจ

 

รู้ทันอวัยวะเสี่ยงบาดเจ็บ

อวัยวะที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ได้แก่

 

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

หัวไหล่ 

การบาดเจ็บตรงบริเวณหัวไหล่มักเกิดจากแรงกระแทก กระตุก หรือหกล้มตรงบริเวณหัวไหล่หรือต้นแขนที่ต่อจากหัวไหล่ ซึ่งส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บกับอวัยวะดังต่อไปนี้

  • อวัยวะสำหรับยึดข้อต่อได้รับความเสียหายจากกีฬาว่ายน้ำและกีฬาที่ต้องใช้ศีรษะพุ่งชน 
  • เส้นเอ็นและปลอกเอ็นบริเวณต้นแขนส่วนบนอักเสบจากการเล่นกอล์ฟ
  • กระดูกไหปลาร้าแตก
  • ร่างแหประสาทบริเวณแขน (Brachial Plexus) บาดเจ็บจากการยกน้ำหนักและกีฬาประเภทปะทะ
  • เส้นประสาทเรเดียลบริเวณรักแร้ (Radial Nerve) บาดเจ็บจากการเล่นยิมนาสติกประเภทบาร์
  • แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก  (Growth Plate) เกิดการบาดเจ็บ มักเกิดกับนักกีฬาที่อายุต่ำกว่า 15 ปี จากกีฬาประเภทขว้างลูกตุ้ม

 

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

กระดูกเชิงกรานและสะโพก

การบาดเจ็บบริเวณกระดูกเชิงกรานและสะโพก มักส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บกับอวัยวะดังต่อไปนี้

  • เส้นเอ็นฉีกขาดและกล้ามเนื้อฉีกเรื้อรัง
  • ขั้วเอ็นกล้ามเนื้อและจุดยึดเอ็นกล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการเล่นโบว์ลิ่งและฟุตบอล
  • ปุ่มกระดูกต้นขาด้านนอกระคายเคืองจากการวิ่ง เล่นฟุตบอล (ผู้รักษาประตู) เต้นรำ เดิน และปั่นจักรยาน
  • ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบและไส้เลื่อนบริเวณสะดือ จากการยกน้ำหนัก และกีฬาประเภทขว้างลูกตุ้ม

 

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

หัวเข่า

สาเหตุหลักที่ทำให้หัวเข่าบาดเจ็บคือ การหกล้มโดยมีข้อต่อบิด ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บกับอวัยวะดังต่อไปนี้

  • กล้ามเนื้อเหยียดบาดเจ็บจากการกระโดด
  • ความเสื่อมของเส้นเอ็นจากอายุที่เพิ่มขึ้น
  • ข้อหลุดและ/หรือกระดูกสะบ้าแตก จากกีฬาสกี แข่งรถ และฟุตบอล
  • กระดูกแข้งใต้ข้อเข่าหัก
  • เส้นเอ็นและเอ็นหุ้มข้อเข่าบาดเจ็บจากการเล่นฟุตบอลและสกี 
  • กระดูกอ่อน / กระดูกบาดเจ็บ (แตกเป็นชิ้นเล็ก)
  • กระดูกอ่อนมินิสคัส (Meniscus) บาดเจ็บจากการเล่นฟุตบอลและสกี
  • กระดูกอ่อนข้อต่อบาดเจ็บจากการปั่นจักรยาน

 

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

มือและข้อมือ

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬามักเกิดร่วมกับการบาดเจ็บของมือ ข้อมือ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บกับอวัยวะดังต่อไปนี้

  • กล้ามเนื้องอบริเวณนิ้วมือฉีกขาดจากกีฬาปะทะและยูโด
  • เส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นบาดเจ็บจากกีฬาแข่งเรือและพายเรือแคนู
  • กระดูกนิ้วมือบาดเจ็บจากการบังคับม้าแข่ง
  • ข้อต่อนิ้วมือบาดเจ็บจากการชกมวย
  • กระดูกฝ่ามือและนิ้วมือแตกจากการชกมวย
  • กระดูกข้อต่อระหว่างแขนกับมือแตก
  • เยื่อหุ้มข้อต่อและเส้นเอ็นเสียหาย เนื่องจากการบาดเจ็บเล็กน้อย จากการเล่นยิมนาสติก
  • เส้นประสาทบาดเจ็บจากกีฬาฟันดาบ ปั่นจักรยาน และพายเรือ

 

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

ข้อศอก

การบาดเจ็บที่เกิดจากการกระตุกอย่างแรงบริเวณข้อศอกมักพบได้บ่อยจากกีฬาประเภทขว้างหรือเหวี่ยงลูกตุ้ม โดยส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บกับอวัยวะดังต่อไปนี้

  • ขั้วเส้นเอ็นบริเวณกล้ามเนื้องอบาดเจ็บจากกีฬาขว้างลูกตุ้ม เล่นกอล์ฟ และปีนเขา 
  • ขั้วเส้นเอ็นบริเวณกล้ามเนื้อเหยียดบาดเจ็บจากกีฬาปาเป้า
  • กระดูกเรเดียสส่วนหัวหรือส่วนคอแตกจากกีฬาปั่นจักรยาน
  • กระดูกอัลนาหรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อยแตกจากกีฬาปะทะ
  • กระดูกบริเวณข้อต่อบาดเจ็บเล็กน้อยจากกีฬายูโด
  • แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก  (Growth Plate) เกิดการบาดเจ็บ มักเกิดกับนักกีฬาที่อายุต่ำกว่า 15 ปี
  • เส้นเอ็นด้านในบาดเจ็บจากกีฬาขว้างและกีฬาใช้ไม้แร็กเก็ต
  • เส้นประสาทแขนเรเดียล (Radial Nerve)  บาดเจ็บจากการตีเทนนิส 
  • เส้นประสาทแขนอัลนาร์  (Ulnar Nerve) บาดเจ็บจากกีฬาปะทะ

 

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

เท้าและข้อต่อเท้า

การบิดของเส้นเอ็นและกระดูกหักบริเวณข้อต่อหักมักเกิดจากการเล่นกีฬา โดยส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บกับอวัยวะดังต่อไปนี้

  • บาดเจ็บจากข้อเท้าพลิกเข้าด้านใน 
  • เส้นเอ็นกระดูกบริเวณกล้ามเนื้อฝ่าเท้าฉีกขาด
  • กระดูกข้อเท้าแตกจากกีฬาฟุตบอลและสกี
  • กระดูกสแคฟฟอยด์หัก (Scaphoid Bone) จากการกระโดด
  • กระดูกนิ้วเท้าหัก
  • เกิดกระบวนการสร้างกระดูกในตำแหน่งเยื่อหุ้มข้อต่อ จากการได้รับการบาดเจ็บเล็กน้อยจากกีฬาฟุตบอล
  • การบาดเจ็บซ้ำ ๆ ที่บริเวณหลังเท้าจากการวิ่งออกกำลังกาย

 

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

รักษาจุดเจ็บแบบเห็นผล

สำหรับแนวทางการรักษาเมื่ออวัยวะเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาอาจแตกต่างกันออกไป ทั้งการให้ยา ทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด ซึ่งอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้หลายวิธีประสานกัน โดยการรักษาจะเป็นแบบเฉพาะบุคคล (Custom Made) ซึ่งเป็นแนวทางที่สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายกรุงเทพ (BASEM) ยึดเป็นแนวทางมาตรฐานมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังเน้นการรักษาแบบพุ่งเป้า (Targeted Therapy) ที่ช่วยลดผลกระทบต่ออวัยวะข้างเคียง โดยมีการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (Arthroscopic Surgery) ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการรักษา โดย BASEM ได้รับการได้รับการรับรองมาตรฐานจากฟีฟ่า (FIFA) ให้เป็นศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางการแพทย์ของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA Medical Centre of Excellence) โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านกีฬาฟุตบอล มีการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเวชศาสตร์การกีฬา มีทีมแพทย์ที่ได้รับการรับรองจากทางฟีฟ่า และมีโปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นฟุตบอล หรือที่เรียกว่า FIFA 11+ นอกจากนี้ BASEM ยังให้ความรู้ด้าน Health Promotion เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับสังคม และดูแลรักษานักกีฬาทีมชาติ นักกีฬาอาชีพ และนักกีฬาระดับสโมสร

 

 


สอบถามเพิ่มเติมที่
สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกาย โรงพยาบาลกรุงเทพ
ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น.

แชร์