ก้อนที่ต่อมไทรอยด์อย่าชะล่าใจ

1 นาทีในการอ่าน
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์อย่าชะล่าใจ

แชร์

ต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่อยู่ด้านหน้าลำคอขนาดประมาณ 20 กรัม มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีผลกระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายทำงานโดยเฉพาะหัวใจ สมอง และควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นเมื่อสังเกตพบว่ามีก้อนผิดปกติที่หน้าลำคอ โดยคลำเจอหรือสังเกตุเวลากลืนน้ำลายอย่าชะล่าใจ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจว่าเป็นก้อนเนื้องอกไทรอยด์หรือไม่

ก้อนที่ไทรอยด์บอกโรค

หากพบก้อนที่ไทรอยด์สามารถบ่งบอกโรคต่าง ๆ ได้ ดังนี้ 

  1. เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของต่อมไทรอยด์ (Thyroid  Adenoma)
  2. เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของต่อมไทรอยด์แต่ทำงานมากเกินไป (Toxic Adenoma)
  3. มะเร็งไทรอยด์ (Thyroid Carcinoma)

รู้ให้ทันมะเร็งไทรอยด์

มะเร็งไทรอยด์ถ้าเริ่มเป็นจะไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ นอกจากคลำก้อนที่ต่อมไทรอยด์เจอ ดังนั้นเมื่อพบก้อนบริเวณด้านหน้าลำคอที่เคลื่อนขึ้นลงตามการกลืนน้ำลายควรพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะส่งตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูลักษณะก้อนที่บ่งบอกมะเร็งไทรอยด์ ซึ่งการวินิจฉัยที่ได้ผลค่อนข้างชัดเจนมากที่สุดคือ เจาะเอาเนื้อจากต่อมไทรอยด์มาตรวจ  (Fine  Needle Aspiration) หากพบว่าเป็นมะเร็งไทรอยด์ควรเข้ารับการผ่าตัด เพราะการผ่าตัดตั้งแต่ระยะแรกมักจะหายจากโรคได้


 


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ
ชั้น 2 อาคาร โรงพยาบาลกรุงเทพ
จันทร์ – ศุกร์ 7.00 - 16.00 น.
เสาร์ – อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 7.00 – 16.00 น.

แชร์