แนวคิดบริการด้านสุขภาพจิตสู่ความเป็นเลิศ

3 นาทีในการอ่าน
แนวคิดบริการด้านสุขภาพจิตสู่ความเป็นเลิศ

แชร์

ในประเทศไทยมีคนมากถึง 1 ใน 4 ประสบปัญหาสุขภาพจิตและต้องการการดูแล อย่างไรก็ตามในประเทศไทยและหลายประเทศมักไม่ให้ความสำคัญกับการดูแลด้านสุขภาพจิตที่เพียงพอและได้มาตรฐาน คนจำนวนมากมีอคติต่อการเจ็บป่วยทางจิตผู้ป่วยมักถูกต่อต้านและรังเกียจจากสังคม (Stigma and Discrimination) การไปรับการรักษายังถูกมองว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย

mental-health-happy.png

mental-health-ros.png


การร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในประเทศไทย

การสาธารณสุขบ้านเราเจริญพัฒนาทัดเทียมนานาอารยประเทศและเหนือกว่าหลายประเทศ ภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน โดยต้องอาศัยความร่วมมือ 3 ฝ่ายได้แก่ภาครัฐ เอกชน และองค์กรวิชาชีพ งานสุขภาพจิตเป็นงานเฉพาะด้านที่ต้องอาศัยองค์ความรู้และบุคลากรผู้ชำนาญการ ซึ่งภาครัฐมีองค์กรรับผิดชอบในการพัฒนาด้านนโยบายองค์ความรู้ในการดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพจิต ตลอดจนบุคลากรผู้ชำนาญการ ซึ่งช่วยสนับสนุนด้านการอบรม ขณะที่ภาคเอกชนมีจุดแข็งในด้านศักยภาพในการพัฒนางานบริการเฉพาะด้านสู่ความเป็นเลิศมาตรฐานสากล โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยและญาติเป็นสำคัญ

การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนหรือภาคประชาชนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่โรงพยาบาลกรุงเทพให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือทางด้านการพัฒนาบริการ การศึกษาอบรม พัฒนาวิชาการ พัฒนาบุคลากร การทำวิจัย เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ ภาคประชาชน ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

เราทราบว่ากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาการบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการด้านสุขภาพจิตในระดับนานาชาติ ทั้งในระดับ Sub – แม่โขง Region, ASEAN และระดับโลก ซึ่งเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของโรงพยาบาลกรุงเทพ


แนวคิดที่โรงพยาบาลกรุงเทพพัฒนาเกี่ยวกับบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

Mental Health for All จิตมีอำนาจเหนือกาย สุขภาพที่ดีจำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญคือ สุขภาพจิตที่ดีและการดูแลสุขภาพจิตควรเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญ

  • ผู้ป่วยจิตเวช (Mental Illness) ได้รับบริการที่ดีเลิศทั้งด้านมาตรฐานการบริการและความพึงพอใจ

  • พัฒนาการดูแลด้านสุขภาพจิตในผู้ป่วย (Co – Occurring Disorders) เพื่อให้การรักษาโรคทางกายได้ประสิทธิภาพดีที่สุดและผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

  • สนับสนุนให้บุคคลทั่วไปที่อาจเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต (Mental Health Difficulties) หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีปัญหาตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิต เน้นที่การค้นหาปัญหาในกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีในบุคคลทั่วไป

  • สนับสนุนการพัฒนาการบริการและวิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล (Recovery Oriented Services; ROS)


ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ

ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพเป็นศูนย์ให้บริการด้านสุขภาพจิต (Mental Health) และจิตเวชที่เปิดดำเนินการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกและรับคำปรึกษาต่างแผนกภายในโรงพยาบาล การดำเนินการของศูนย์เป็นไปตามหลักการ Recovery (Recovery Oriented Services; ROS) โดยสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาตั้งแต่แรกเริ่มและมีโอกาสเลือกโปรแกรมการบำบัด (Psychosocial Rehabilitation Programs) ที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง

นอกจากนี้ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้ป่วยจิตเวชและผู้ดูแลผ่านโปรแกรม Consumer and Carer Consultation และ Community and Family Reintegration ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสนับสนุนให้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถกลับเป็นปกติสามารถฟื้นคืนสู่ศักยภาพเดิมให้มากที่สุดและสามารถกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุข



ช่องทางใช้บริการและประโยชน์สำหรับประชาชน

  • การบริการของโรงพยาบาลกรุงเทพ ผู้ป่วยและครอบครัวจะได้รับความคุ้มค่ากับการบริการมาตรฐานสูงสุด โดยบุคลากรมืออาชีพ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการด้านจิตเวช การบริการที่ปรับตามความต้องการของผู้ป่วยเฉพาะรายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด ประกอบกับความเอาใจใส่ การบริการด้วยใจ ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญของโรงพยาบาลกรุงเทพ

  • นโยบาย Clinic Primary ที่จะเข้าถึงประชาชนและชุมชนมากขึ้น คนทั่วไปสามารถไปใช้บริการคัดกรองเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคหรือความเสี่ยงต่อปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางกายและทางสุขภาพจิต หากพบว่ามีความต้องการได้รับการรักษาเฉพาะทาง แพทย์จึงจะส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป นอกจากนี้โรงพยาบาลมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ อบรมเสวนาสำหรับผู้ป่วยญาติ ผู้ดูแล และบุคคลทั่วไปได้เรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

  • นโยบายบัตรทอง Plus

  • โรงพยาบาลกรุงเทพสนับสนุนชมรมเครือข่ายผู้ป่วยและผู้มีประสบการณ์ด้านจิตเวชในการรณรงค์เป็นปากเป็นเสียง (Advocate) เพื่อลดการกีดกัน ซึ่งประกันสังคมและระบบประกันสุขภาพทั่วไปมักปฏิเสธไม่รับโรคทางจิตเวช


โรงพยาบาลกรุงเทพเห็นความสำคัญของการบริการด้านสุขภาพจิต เราตระหนักว่า เมื่อคนหนึ่งคนมีปัญหาทุกข์ทางใจ คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนฝูง ญาติมิตรต่างได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เราต้องการพัฒนาการบริการให้มีความเป็นเลิศเพื่อให้สามารถดูแลท่านและคนที่ท่านรักให้กลับเป็นปกติ สามารถฟื้นคืนสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความสุข


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ชั้น 5 อาคาร C โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.

แชร์