ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับต้อหิน

1 นาทีในการอ่าน
ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับต้อหิน

แชร์

ความเชื่อ: ต้อหินเกิดจากความดันลูกตาสูง

ความจริง: ไม่ใช่ทุกคนที่มีความดันลูกตาสูงจะเป็นต้อหิน พบว่าอาจมีคนไข้ต้อหินเกินกว่าครึ่งที่ความดันลูกตาไม่เคยสูง


ความเชื่อ: ต้อหินเป็นโรคของคนอายุมาก

ความจริง: จริง ๆ แล้วสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ อาจเป็นตั้งแต่แรกเกิดหรือพบร่วมกับโรคตา หรือโรคทางกายอื่น ๆ


ความเชื่อ: คนไทยมีความเสี่ยงมากกว่าคนชาวตะวันตก

ความจริง: คนไทย 1 ใน 6 ของประชากรที่อายุเกิน 50 ปีมีโอกาสเป็นต้อหิน


ความเชื่อ: ต้อกระจก ทิ้งไว้ไม่รักษาจะกลายเป็นต้อหิน

ความจริง: คนที่เป็นต้อกระจกจะไม่กลายเป็นต้อหิน เว้นเสียแต่ว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อหินร่วม หรือทิ้งไว้นานจนต้อกระจกสุกขุ่นขาวก็อาจทำให้เกิดต้อหินได้


ความเชื่อ: ต้อหินเกิดจากใช้คอมพิวเตอร์มาก

ความจริง: ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากพอ แต่การที่มีสายตาสั้นมากเป็นปัจจัยของการเกิดต้อหินได้ กลุ่มคนทำงานหนักอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีสายตาสั้นมากอยู่แล้ว


ความเชื่อ: ต้อหินมักต้องมีอาการปวดตา

ความจริง: จริง ๆ แล้วคนที่เป็นต้อหินจะไม่มีอาการอะไรเลย จนกระทั่งประสาทตาถูกทำลายไปครึ่งหนึ่งจึงเริ่มมีอาการตามัว


ความเชื่อ: ต้อหินถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

ความจริง: ไม่ได้หมายความว่าลูกต้องเป็นต้อหิน ถ้าพ่อหรือแม่เป็นต้อหิน แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ครอบครัวมีประวัติเป็นต้อหิน ควรรับการตรวจเช็คสุขภาพตาแต่เนิ่น ๆ สม่ำเสมอ เนื่องจากมีความเสี่ยงมากกว่าประชากรทั่วไป 5 – 6 เท่า


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ
จันทร์-ศุกร์ 08.00 - 19.00 น.
เสาร์ 08.00 - 17.00 น
อาทิตย์ 08.00 - 16.00 น.

แชร์