รอบรู้เรื่องโรคเบาหวาน

1 นาทีในการอ่าน
รอบรู้เรื่องโรคเบาหวาน

แชร์

รู้จักโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ หากมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะทำให้หลอดเลือดแข็งและมีการทำลายไต สมอง หัวใจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้


ชนิดของเบาหวาน

โรคเบาหวานโดยหลัก ๆ แบ่งเป็น 2 ชนิด

  • เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1) โรคเบาหวานที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ พบบ่อยในเด็กหรือวัยรุ่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย การรักษาต้องฉีดอินซูลินตลอดชีวิต

  • เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2) โรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินและตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอ พบบ่อยในผู้ใหญ่อายุ 40 ขึ้นไป บางครั้งไม่แสดงอาการใด ๆ ซึ่งในประเทศไทยพบมากกว่า 90%



รักษาเบาหวาน

เนื่องจากการรักษาโรคเบาหวานให้ได้ผลดีที่สุดต้องมีการร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์หลายสาขาวิชา อาทิเช่น แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคเบาหวาน นักโภชนาการ นักกิจกรรม ที่พรั่งพร้อมด้วยเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ที่ทันสมัย รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับความรู้ ความเข้าใจในโรคเบาหวาน และสามารถนำไปใช้ในการดูแลตนเองได้

นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แพทย์ผู้ชำนาญการจะแนะนำการรักษาโดยทีมแพทย์หลายสาขา อาทิเช่น

  • จักษุแพทย์

  • อายุรแพทย์โรคหัวใจ

  • อายุรแพทย์โรคปอด

  • ศัลยแพทย์

  • คลินิกสุขภาพเท้า


นอกจากนี้ยังมีการบำบัดรักษาโรคเบาหวานด้วยการใช้อินซูลินปั๊ม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่บรรจุอินซูลิน มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก ประกอบด้วยที่บรรจุอินซูลิน ซึ่งจะต่อกับท่อพลาสติกเล็ก ๆ และเข็มฉีด เพื่อฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายตลอด 24 ชั่วโมง เครื่องอินซูลินปั๊มจะถูกตั้งโปรแกรมให้ฉีดอินซูลินขนาดต่ำ ๆ เข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลพื้นฐานของผู้ป่วย และผู้ป่วยจะเป็นผู้กดให้อินซูลินจากเครื่องเมื่อรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่จะเพิ่มขึ้นหลังรับประทานอาหารเข้าไป

 

ปรึกษาผู้ชำนาญด้านโรคเบาหวานและลดน้ำหนัก คลิก https://bit.ly/3bXZ8qO


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ
ชั้น 2 อาคาร โรงพยาบาลกรุงเทพ
จันทร์ – ศุกร์ 7.00 - 16.00 น.
เสาร์ – อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 7.00 – 16.00 น.

แชร์