ปรับพฤติกรรมรักษากรดไหลย้อน (GERD)

1 นาทีในการอ่าน
ปรับพฤติกรรมรักษากรดไหลย้อน (GERD)

แชร์

หากมีอาการของโรคกรดไหลย้อน (GERD) และใช้ยาลดกรดหรือยาอื่นในกลุ่ม PPI มานานกว่า 2 สัปดาห์แล้วยังไม่ดีขึ้น ควรต้องพบแพทย์ผู้ชำนาญการระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค การรักษาจะต้องรวมถึงการปรับพฤติกรรมประจำวัน (Life Style Change) เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร นอกเหนือจากการใช้ยาหรือการผ่าตัดซึ่งเป็นทางเลือกระดับสุดท้าย


ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรักษา GERD

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน (Lifestyle Changes) เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน (GERD) ได้แก่
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้อาการแย่ลง
  • ถ้าอ้วนให้ลดน้ำหนักลง
  • ทานครั้งละน้อย ๆ ในแต่ละมื้อ แต่ทานบ่อยขึ้น
  • สวมเสื้อผ้าหลวม ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดรูปจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการนอนภายใน 3 ชั่วโมงหลังอาหาร
  • นอนหนุนเตียงให้ด้านหัวสูง 6 – 8 นิ้ว การใช้หมอนหนุนจะไม่ได้ผล เนื่องจากมีการงอบริเวณลำตัว


ข้อสังเกตเมื่อกรดไหลย้อน (GERD)

สิ่งที่ควรจำ (Points to Remember) เกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน (Gerd) ได้แก่

  • การเจ็บหน้าอกบ่อย ๆ (Heartburn) เป็นอาการที่พบได้ง่ายและบ่อยในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ถือว่ามีความเสี่ยงหรือโอกาสที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
  • โรคกรดไหลย้อนเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอกได้
  • อาการอื่น ๆ ที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน คือ ไอแห้ง ๆ หอบหืด และกลืนลำบาก
  • ถ้าเคยใช้ยาลดกรดมานานเกิน 2 สัปดาห์แล้วอาการไม่ดีขึ้นและในรายที่อาการรุนแรงแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินอาหารและลำไส้
  • โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือปรับโภชนาการเพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น ยาก็เป็นปัจจัยที่จำเป็นในการรักษา แต่การผ่าตัดจะเป็นทางเลือกขั้นสุดท้าย
  • เด็กทารกส่วนใหญ่ที่มีภาวะไหลย้อนกลับจะยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี ถึงแม้ว่าจะมีการสำลักหรืออาเจียนบ่อย ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายไปหลังจาก 1 ปี หรือครบ 1 ขวบ ถ้าเด็กยังมีอาการนานกว่า 1 ปี ให้สันนิษฐานว่า อาจจะเป็นโรคกรดไหลย้อนควรปรึกษาแพทย์
  • การมีภาวะไหลย้อนกลับที่ยาวนานและต่อเนื่อง รวมทั้งอาการหลังงอและหงุดหงิดง่ายในเด็ก หรือมีอาการปวดท้องหรือหน้าอกบ่อยในเด็กโต รวมถึงการไอเรื้อรัง อาเจียน และมีปัญหาเกี่ยวระบบหายใจ คืออาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับ
ชั้น 2 อาคารโรงพยาบาลกรุงเทพ
จันทร์, อังคาร, พฤหัสบดี, เสาร์, อาทิตย์ เวลา 07.00 - 16.00 น.
พุธ, ศุกร์  เวลา 07.00 - 18.00 น.

แชร์