ต้อหิน รักษาช้า...สัญญาณเตือนตาบอด

1 นาทีในการอ่าน
ต้อหิน รักษาช้า...สัญญาณเตือนตาบอด

แชร์

รู้จักต้อหิน

ต้อหิน (Glaucoma) เป็นโรคของดวงตาที่เกิดจากการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงตา (Aqueous Humor) อุดตัน ทำให้ความดันในลูกตาสูงผิดปกติ จนทำลายขั้วประสาทตา และมีการสูญเสียลานสายตาอย่างถาวร โดยการสูญเสียตานั้น จะเริ่มที่ขอบด้านนอกก่อน หากไม่ทำการรักษาจะทำให้ลานสายตาค่อย ๆ แคบลงจนตาบอดได้ในที่สุด

 

สาเหตุต้อหิน

  1. ต้อหิน (Primary Glaucoma) เป็นต้อหินชนิดไม่ทราบสาเหตุ

  2. ต้อหินจากสาเหตุอื่น (Secondary Glaucoma)

  • ต้อหินชนิดที่ทราบสาเหตุแน่นอน เช่น เกิดจากโรคตาอื่น ๆ เช่น ตาอักเสบ เนื้องอกในลูกตา ฯลฯ

  • การใช้ยาบางชนิด การใช้ยาที่มีสารสเตียรอยด์เป็นส่วนประกอบของยาหยอดตาเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น

 

eye_center1

กลุ่มที่มีโอกาสหรือเสี่ยงเป็นโรคต้อหิน

  1. ผู้ที่มีอายุมากมีโอกาสเป็นมากกว่าคนอายุน้อย (อายุ 40 ปีขึ้นไป)

  2. ผู้ที่มีความดันลูกตาสูง (ความดันมากกว่า 20 มม. ปรอท)

  3. มีสมาชิกภายในครอบครัวหรือญาติเป็นต้อหิน

  4. สายตาสั้นมากหรือยาวมาก

  5. ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

  6. ป่วยเป็นโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง

  7. ผิดปกติทางเลือดและเส้นเลือด

  8. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์, ผู้ได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เป็นต้น

  9. อาชีพหรือกิจรรมบางประเภทที่เพิ่มความดันตา เช่น นักดนตรีเป่าขลุ่ย นักดำน้ำ เป็นต้น


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ
จันทร์-ศุกร์ 08.00 - 19.00 น.
เสาร์ 08.00 - 17.00 น
อาทิตย์ 08.00 - 16.00 น.

แชร์