เทคนิคสร้างวินัยและปรับพฤติกรรมเด็ก

3 นาทีในการอ่าน
เทคนิคสร้างวินัยและปรับพฤติกรรมเด็ก

แชร์

ในปัจจุบันพบเด็กมีปัญหาพฤติกรรมมากขึ้น อาทิ ไม่เชื่อฟังคำสั่งของพ่อแม่และทำทุกอย่างที่ตัวเองต้องการ มีพฤติกรรมก้าวร้าวเวลาถูกขัดใจ เช่น ตี เตะทำร้ายพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด โดยทั่วไปคนมักนึกว่าพ่อ แม่ และผู้ดูแลเด็กมีหน้าที่เพียงดูแลให้ความรักและความอบอุ่นเท่านั้น แต่ความจริงแล้วยังมีหน้าที่ที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่ง นั่นก็คือการอบรม สั่งสอน ให้เด็กรู้จักกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต


หลักการควบคุมเด็กให้ได้ผล

  1. ใช้การออกคำสั่งที่เอาจริง แต่ไม่ใช้อารมณ์โกรธ เพราะการที่พ่อแม่ใช้อารมณ์โกรธจะทำให้เกิดผลเสียตามมา

  2. ความสม่ำเสมอ คงเส้นคงวา ผู้ใหญ่ควรตกลงกันให้เรียบร้อยด้วยเหตุผลก่อน จะได้ควบคุมเด็กไปในทิศทางเดียวกัน

  3. ความหนักแน่น มั่นคง เวลาพ่อแม่บอกว่า “ไม่” เด็กอาจร้องหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม พฤติกรรมที่ลงไปร้องดิ้น หรือร้องนานไม่ยอมหยุดเวลาถูกขัดใจ พ่อแม่ควรหนักแน่นมั่นคง ไม่โลเล


ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย

  1. การที่เด็กร้องดิ้นหรือร้องนานเวลาถูกขัดใจ (Temper Tantrum) ถ้าเป็นเด็กเล็กอายุ 1 – 2 ปี ควรใช้วิธีเบนความสนใจก่อน แต่ถ้าเป็นเด็กโตหรือยังจำสิ่งที่ต้องการได้แล้วร้อง ควรใช้วิธีเพิกเฉย ไม่สนใจ การเพิกเฉยทำได้ตราบเท่าที่เด็กยังร้อง โดยพฤติกรรมนี้ไม่เป็นอันตราย และการร้องในครั้งต่อไปจะสั้นลงและหายไปในเวลาไม่นานนัก 

  2. การเสริมพฤติกรรมดีด้วยการให้รางวัลและคำชมเชยเป็นแรงจูงใจ

  3. เมื่อเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว อาจใช้การควบคุมโดยการลงโทษแบบ Time Out คือ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ให้บอกอธิบายเหตุผลสั้น ๆ แล้วให้เด็กถูกจำกัดอยู่ในพื้นที่หนึ่งในเวลาสั้น ๆ หลักสำคัญคือ

    • เวลา Time Out พ่อแม่ต้องเฝ้าไว้ห้ามตอบโต้กับเด็ก หรือสอนเด็กในขณะนั้นตามเวลาที่กำหนด ห้องที่ทำต้องเป็นห้องที่เงียบ ไม่มีเสียง หรือคนอื่นมารบกวน

    • อย่าเผลอใจอ่อนยอมให้เด็กออกมาก่อนเวลาที่กำหนด พยายามไม่ให้มีใครเข้ามาขัดจังหวะการ Time Out

    • เมื่อออกจากมุมห้องแล้ว จึงสอนและบอกเหตุผลถึงสิ่งที่เด็กได้ทำลงไป

ในกรณีที่พ่อแม่ไม่สามารถออกคำสั่งได้และลูกไม่เชื่อฟัง การเรียกให้เข้ามุมหรือนั่งบนเก้าอี้เด็กมักไม่ทำตาม กรณีนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อไป การควบคุมเด็กนั้น พ่อแม่และผู้ดูแลต้องคิดในใจว่ากำลังทำหน้าที่สำคัญ อีกข้อหนึ่งของพ่อแม่ คือ การควบคุมกฎเกณฑ์ระเบียบวินัย ซึ่งเป็นสิ่งดี ๆ ที่เราจะให้กับเด็ก การควบคุมต้องไม่เข้มงวดเกินไป และไม่ยอมตามใจเด็กมากเกินไป บางครั้งการควบคุมเด็กขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ และอารมณ์ของพ่อแม่ด้วย พ่อแม่บางคนอาจควบคุมลูกไม่เป็น รู้สึกสงสารลูกไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ อาจจะต้องปรึกษาแพทย์หรือหาผู้อื่นมาควบคุมแทน การที่เด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่ ความรัก ความอบอุ่น ไปพร้อมกับการควบคุมกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยที่เหมาะสม ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้ตามพัฒนาการที่ควรจะเป็น จะทำให้เด็กมีการควบคุมอารมณ์ตนเองที่ดี รู้จักกฎเกณฑ์ปรับตัวให้เข้ากับสังคมและผู้อื่นได้ง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ดี กล้าคิดกล้าแสดงออก เมื่อโตขึ้นก็สามารถร่วมงานร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นได้ดี มีเป้าหมายในชีวิตและพยายามไปให้ถึงจุดหมาย ไม่ย่อท้อ รู้จักสร้างกำลังใจให้ตนเอง ซึ่งเป็นความปรารถนาของพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็กทุกคน


ค้นพบศักยภาพลูกน้อยได้ตั้งแต่วัยเด็ก

จะดีแค่ไหน? ถ้าคุณสามารถเข้าใจและค้นพบศักยภาพลูกน้อยได้ตั้งแต่วัยเด็ก

วันนี้คุณสามารถค้นหาตัวตนของลูกน้อย ด้วยการตรวจวิเคราะห์พัฒนาการ ตั้งแต่วัย 1 เดือน – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีสำหรับลูกน้อยในการส่งเสริมจุดเด่น ค้นหาสิ่งที่เด็กถนัด และหาจุดที่สามารถต่อยอดให้มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ โดยกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ร่วมกับผู้ปกครองในการตรวจประเมิน ด้วยเครื่องมือมาตรฐาน ประกอบด้วย

  1. โปรแกรมตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น ว่ามีพัฒนาการปกติหรือล่าช้ากว่าวัย

  2. โปรแกรมตรวจวัดระดับพัฒนาการเด็กในแต่ละวัย เพื่อค้นหาความถนัดแต่ละด้าน

  3. โปรแกรมตรวจวัดระดับพัฒนาการเด็กในแต่ละวัย ทักษะในการบริหารจัดการ  และทักษะก่อนเข้าเรียนและทักษะในการเรียนของเด็ก เพื่อค้นหาความถนัด และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน (Pre – Academic Skills)


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ
ชั้น 4 อาคาร B โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00 - 20.00 น.

แชร์