ประสบการณ์การรักษาโรคกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด

1 นาทีในการอ่าน
ประสบการณ์การรักษาโรคกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด

แชร์

คำถาม :

Q : มีอาการอย่างไร ก่อนมารับการรักษา?
A : ปวดหลัง ตึง ๆ คิดว่ามาจากการเล่นฟุตบอล จึงตัดสินใจไปหาหมอ เพราะคิดว่าเกิดจากกล้ามเนื้อที่ทำให้ปวด ทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ดีขึ้นระยะนึง แต่กลับมาเป็นอีก


Q : อาการปวดที่เกิดขึ้นส่งผลต่อชีวิต หรือการดำเนินชีวิตอย่างไร?
A : เริ่มต้นจะตึง ๆ ปวด ๆ บริเวณหลัง ร้าวลงขา กดลงไปจะมีอาการปวดจี๊ด ๆ ขึ้นมา เดินไม่ได้ ทำให้รบกวนชีวิตประจำวันมาก


Q : การมารักษาที่ รพ.กรุงเทพ ?
A : ตอนเข้ามารักษาครั้งแรกได้ไปแผนกกายภาพก่อน รักษาเป็นปี อาการก็ ดีขึ้นพักนึงแล้วกลับไปเป็นอีก ต่อมามีอาการปวดมากจนนอนไม่ได้ ปวดเยอะขึ้น ต้องนอนตะแคง ลุกยาก หมอจึงขอให้ไปทำ MRI เลยทราบว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด และได้รับการส่งต่อมาที่ แผนกรูมาติสซั่ม และได้มาเจอกับคุณหมอสุรราชย์


Q : หลังจากรักษากับแพทย์รูมาติสซั่มเป็นอย่างไรบ้าง ?
A : หลังมาเจอคุณหมอสุรราชย์ ทางคุณหมอแจ้งว่าโรคนี้รักษาไม่หายขาด เพราะผมเป็นเยอะ หมอเลยให้ยามาทาน เพื่อรักษาอาการเบื้องต้น และฉีดยาชีวภาพ


Q : ปัจจุบันหลังการรักษาเป็นอย่างไร?
A : ปัจจุบันไม่ปวดมากแล้ว แค่ตึง ๆ ยังคงทานยาต่อเนื่อง  ฉีดยา และยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะ ๆ ตอนนี้อาการดีขึ้นมาก สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ยังต้องงดการออกกำลังกายหนัก ๆ ไว้ก่อน


Q : ฝากถึงคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด
A : หากมีอาการปวดหลังต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่หายสักที รักษามาหลายที่ หลายหมอ ผมแนะนำให้มาปรึกษา หรือตรวจกับแพทย์ผู้ชำนาญด้านรูมาติสซั่ม จะได้รักษาได้ทัน อย่าปล่อยให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน จากอาการปวดที่รบกวนทำให้ใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถออกกำลังกายได้ ปัจจุบันนี้ผมได้รับการรักษาจนดีขึ้น เคลื่อนตัวได้คล่องแคล่ว ใช้ชีวิตได้มากขึ้น


นพ. สุรราชย์ ธำรงลักษณ์ แพทย์ผู้ชำนาญด้านรูมาติสซั่ม และ ว่าที่ร้อยตรี พรสุข วัฒนาประดิษฐชัย

ปวดหลังเรื้อรัง อาจเป็นโรคข้อรูมาติสซั่ม

แบบประเมินการกำเริบของโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึด ของ BASDAI


สอบถามเพิ่มเติมที่
คลินิกโรคข้อและรูมาติสซั่ม
ชั้น 3 อาคาร B
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.

แชร์