ทางเลือกในการแก้ไขสายตาผิดปกติ

1 นาทีในการอ่าน
ทางเลือกในการแก้ไขสายตาผิดปกติ

แชร์

การที่คนเรามีสายตาผิดปกติ (Refractive Error)  สามารถแก้ไขได้หลายวิธีเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน 


1) แว่นสายตา (Spectacles)

มีการใช้อย่างแพร่หลายมายาวนาน โดยแว่นสามารถลดการรวมแสงสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นและเพิ่มการรวมแสงสำหรับผู้ที่มีสายตายาว เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ความไม่สะดวกในการเล่นกีฬา การประกอบอาชีพบางอย่าง หรือปัญหาด้านบุคลิกภาพ


2) คอนแทคเลนส์ (Contact Lenses) 

อีกทางเลือกที่นิยมกัน แต่การใช้คอนแทคเลนส์จะต้องมีความระมัดระวังในการรักษาความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อที่กระจกตา ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้ การใช้คอนแทคเลนส์จึงควรได้รับการดูแลโดยจักษุแพทย์ นอกจากนี้คนจำนวนมากอาจไม่สามารถใส่คอนแทคเลนส์ เนื่องจากการแพ้เลนส์หรือน้ำยาล้างเลนส์ กิจกรรมบางอย่างก็ไม่เอื้ออำนวยกับการใส่คอนแทคเลนส์ เช่น อยู่ในที่มีฝุ่นควันมาก การว่ายน้ำ เป็นต้น


3) ผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive Surgery)

ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ที่ไม่สามารถ (หรือไม่ต้องการ) ใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ จากเหตุผลต่าง ๆ และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี ตั้งแต่วิธีกรีดกระจกตา (RK หรือ Radial Keratotomy) มาจนถึงการใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ขัดผิวกระจกตาโดยตรงที่เรียกว่า Photorefractive Keratectomy (PRK) ปัจจุบันวิธีที่ทันสมัย คือ LASIK รวมทั้งเทคโนโลยี ใหม่ล่าสุดด้วยเลเซอร์ทุกขั้นตอน คือ FemtoLASIK และ ReLEx ส่วนในกลุ่มที่มีค่าสายตามาก ไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีข้างต้น สามารถผ่าตัดใส่เลนส์เสริม เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษา ซึ่งศูนย์เลสิก โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมให้บริการทุกรูปแบบ


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์เลสิก
ชั้น 5 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ
จันทร์ - เสาร์ 08.00 - 17.00 น.
อาทิตย์ 08.00 - 16.00 น.

แชร์