6 เทคนิคดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานรับหน้าฝน
2 นาทีในการอ่าน
แชร์
แผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน และอาจนำไปสู่การตัดขาได้ในที่สุด เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเส้นประสาทที่เท้ามักถูกทำลายจึงมักไม่รู้สึกเจ็บปวดจากแผลที่เท้า เพราะเท้าชาไม่มีความรู้สึกเหมือนปกติ โดยเฉพาะหน้าฝนที่ผู้ป่วยเบาหวานอาจเกิดแผลที่เท้าจากการเดินลุยน้ำจึงละเลยที่จะไปรับการรักษา รวมถึงความอับชื้นที่เกิดขึ้นจากเชื้อราที่เท้า ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้ ซึ่งป้องกันได้ถ้าได้รับการดูแลเท้าและเล็บเป็นอย่างดี โดยใส่รองเท้าที่พอเหมาะไม่คับหรือกดจนเกินไป เมื่อเกิดแผลแล้วต้องพยายามลดการกดน้ำหนักที่แผล วิธีง่ายที่สุด คือ การนอนพักเฉย ๆ อย่าพยายามเดินถ้าไม่จำเป็น ต้องควบคุมน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ และควรงดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่มีส่วนสำคัญในการหายของแผลด้วย
ปัจจัยที่นำไปสู่การตัดขาในผู้ป่วยเบาหวาน
- ภาวะการขาดเลือดไปเลี้ยงเท้า
- ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายไปยังบริเวณเท้า
- การติดเชื้อที่เท้า
- ภาวะการหายของแผลผิดปกติ
- อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดแผลที่เท้าและไม่ได้รับการดูแลจากผู้ป่วย
6 เทคนิคดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
แนวทางการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานทำได้ง่าย ๆ ด้วย 6 เทคนิคดังต่อไปนี้
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ดีหรือปกติจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น โรคไต ประสาทตาเสื่อม เส้นประสาทรับความรู้สึกเสื่อม และควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 – 4 ครั้ง/ สัปดาห์ ประมาณ 1 ชั่วโมง อีกทั้งควรงดการสูบบุหรี่ เพราะจะไปทำลายเส้นเลือด
2) เลือกใช้รองเท้า
ควรเลือกใช้รองเท้าที่มีรูปทรงลักษณะเช่นเดียวกับเท้า รองเท้าจะต้องนิ่ม ด้านบนทำด้วยหนัง ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป จนเกิดการเสียดสีเป็นแผลหรือทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก รองเท้าที่สวมใส่ควรช่วยให้น้ำหนักตัวกระจายลงทั่ว ๆ เท้า ไม่ลงที่จุดใดจุดหนึ่ง
3) ดูแลรักษาเท้าอย่างดีทุกวัน
ตรวจเท้าเป็นประจำทุกวันว่ามีอาการปวด บวม มีแผล รอยช้ำ ผิวเปลี่ยนสีหรือเม็ดพอง โดยตรวจทั่วทั้งฝ่าเท้า ส้นเท้า เมื่อพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ทันที ควรดูด้วยว่ามีรอยแตกย่นหรือไม่ ถ้ามีอาจเพราะเท้าชื้นอยู่เสมอ ถ้าผิวแห้งอาจทำให้คัน มีการเกา เกิดรอยแตก ติดเชื้อได้ง่าย ให้ทาครีมบาง ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น โดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้า เพื่อป้องกันการหมักหมม ซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย ไม่ควรเดินเท้าเปล่า เพราะอาจเหยียบของมีคมได้ ซึ่งจะทำให้เกิดแผลที่เท้า
4) เชื้อราที่เล็บ
ผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดเชื้อราที่เล็บได้ง่าย ดังนั้นควรตรวจดูสภาพเล็บอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเกิดเชื้อราขึ้นควรไปพบแพทย์หรือทำการรักษา
5) การล้างเท้า
ควรล้างเท้าด้วยสบู่อ่อน ๆ หลังจากนั้นใช้ผ้าซับเท้าและบริเวณซอกนิ้วเท้าให้แห้ง พร้อมทั้งสำรวจเท้าและฝ่าเท้าว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่
6) การตัดเล็บ
ควรตัดเล็บเท้าอย่างสม่ำเสมอและตัดเป็นแนวตรงให้สั้นพอประมาณ โดยไม่ตัดเข้ามุมเล็บ ถ้ามีเล็บขบต้องปรึกษาแพทย์
โรคเบาหวานมีผลทำให้เส้นประสาทที่รับความรู้สึกจากเท้ามีความไวน้อยลง เวลามีบาดแผลเกิดขึ้นมักไม่รู้สึกเจ็บปวด ยิ่งถ้าไม่ควบคุมน้ำตาลให้ดีด้วย แผลจะยิ่งหายช้า และอาจส่งผลให้ต้องผ่าตัดเอาส่วนที่อักเสบติดเชื้อหรือมีเนื้อตายออก บางรายต้องถูกตัดนิ้วเท้าหรือตัดเท้าบางส่วนก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการใส่ใจดูแลเท้าเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรละเลย
สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ
เสาร์ – อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 7.00 – 16.00 น.
แชร์