ก้อนที่ต่อมไทรอยด์เมื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดจะมีทั้งกลุ่มเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งและกลุ่มเนื้องอกที่เป็นมะเร็ง ในกรณีที่ก้อนไทรอยด์ที่พบไม่ใช่มะเร็งสามารถรักษาด้วยการจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA) ซึ่งผลข้างเคียงน้อย ใช้เวลาไม่นาน ไม่ต้องพักฟื้น และไม่กลับมาเป็นซ้ำ
ก้อนไทรอยด์อันตรายหรือไม่
ผู้ป่วยที่มีก้อนบริเวณต่อมไทรอยด์ หากมีขนาดเล็กจนไม่แสดงอาการหรือคลำแทบไม่พบย่อมไม่กระทบกับการใช้ชีวิตมากนัก แต่หากคลำพบก้อนที่คอและก้อนไทรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะไม่ใช่มะเร็ง แต่ก็ส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ กลืนลำบาก ติดคอ จุกแน่นที่คอ เป็นต้น การรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งสามารถรักษาได้หลายวิธี ทั้งการรับประทานยา การกลืนแร่ การผ่าตัด และปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยการจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัดไร้มีด (RFA) ที่ผลข้างเคียงน้อย ซึ่งวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์เป็นสำคัญ
จี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA) คืออะไร
การจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (Radiofrequency Ablation – RFA) เป็นการใช้เข็มชนิดพิเศษสอดเข้าไปยังตำแหน่งก้อนไทรอยด์ โดยมองเห็นตำแหน่งได้อย่างชัดเจนผ่านจอภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรืออัลตราซาวนด์ ก่อนจะปล่อยคลื่นความร้อน RF เป็นพลังงานวิทยุผ่านปลายเข็มเพื่อเข้าไปทำลายก้อนไทรอยด์ โดยแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่และทำความสะอาดฆ่าเชื้อก่อนทำการรักษา วิธีนี้เน้นความชำนาญของแพทย์เป็นสำคัญ ใช้เวลาทำการรักษาไม่นาน มี ผลข้างเคียงต่ำ หลังทำการรักษาอาจมีเสียงแหบชั่วคราวหรือเลือดออกเล็กน้อย สามารถกลับบ้านได้ทันที
จี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA) เหมาะกับใคร
- ผู้ป่วยที่มีก้อนไทรอยด์แบบที่ไม่ใช่มะเร็ง
- ผู้ป่วยที่มีก้อนไทรอยด์ขนาดไม่ใหญ่มาก
ตรวจวินิจฉัยก่อนจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA)
- ตรวจชิ้นเนื้อต่อมไทรอยด์ทางห้องปฏิบัติการ
- ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid Stimulating Hormone, TSH)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count, CBC)
- ตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (Activated Clotting Time)
จี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA) เห็นผลเมื่อไร
หลังจากผู้ป่วยจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA) ก้อนไทรอยด์จะค่อย ๆ เล็กลงเรื่อย ๆ โดยในเดือนแรกก้อนไทรอยด์จะเล็กลง 30% เมื่อครบ 3 เดือน ก้อนไทรอยด์จะเล็กลง 50% เมื่อครบ 6 เดือน ก้อนไทรอยด์จะเล็กลง 70% – 80%
ข้อดีของการจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA)
- ไม่มีแผลเป็น
- ไม่ต้องดมยาสลบ
- ลดภาวะแทรกซ้อน
- ใช้เวลารักษาไม่นาน
- ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
- ฟื้นตัวเร็ว กลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็ว
- ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ
- ไม่ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ
ข้อจำกัดในการจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA)
- ก้อนไทรอยด์มีขนาดใหญ่มาก
- หญิงตั้งครรภ์
- โรคเลือด ภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก
- ผู้ที่นอนราบไม่ได้
- ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker)
ดูแลหลังจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA) อย่างไร
- พบแพทย์ตามนัดหมายทุก 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน
- งดออกกำลังกายหนักเกินไปใน 2 สัปดาห์แรกหลังรักษา
- งดการใช้เสียงมากเกินไปใน 2 สัปดาห์แรกหลังรักษา
- เลี่ยงการกดบริเวณคอ
แพทย์ที่ชำนาญการจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA)
นพ.ณัฐนนท์ มณีเสถียร อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม โรงพยาบาลกรุงเทพ
สามารถคลิกที่นี่เพื่อทำนัดหมายได้ด้วยตนเอง
โรงพยาบาลที่ชำนาญด้านการรักษาโรคไทรอยด์
โรงพยาบาลกรุงเทพพร้อมดูแลรักษาผู้ป่วยไทรอยด์ ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มากด้วยประสบการณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มั่นใจในการรักษาด้วยการจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด (RFA) พร้อมคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วย