แพ็กเกจตรวจประเมินความเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุ

สิ้นสุด 30/06/2023
1,800 บาท

สอบถามเพิ่มเติม

การพลัดตกหกล้มในผู้สูงวัยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บตั้งแต่ฟกช้ำไปจนถึงกระดูกหักหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ การตรวจประเมินความเสี่ยงล้มเพื่อให้ผู้สูงอายุตลอดจนผู้ดูแลสามารถรับมือป้องกันและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่อายุ 65 ขึ้นไป หากตรวจพบว่ามีความเสี่ยงต่อการล้มควรพบนักกายภาพบำบัดที่มีความชำนาญเพื่อออกแบบการดูแลที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล ช่วยป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการล้มที่ไม่คาดคิด

แพ็กเกจตรวจประเมินความเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุ ราคา 1,800 บาท


เริ่มประเมินความเสี่ยงล้ม

3 คำถามก่อนเริ่มประเมินความเสี่ยงต่อการล้ม หากตอบใช่เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ถือว่ามีแนวโน้มเสี่ยงต่อการล้ม

  1. มีความรู้สึกไม่มั่นคงขณะยืน เดินหรือไม่
  2. มีความกังวลว่าจะล้มบ้างหรือไม่
  3. ย้อนหลังไป 1 ปีมีประวัติล้มหรือไม่

ประเมินความเสี่ยงล้มผู้สูงวัย

  • ตรวจเช็กความมั่นใจต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันที่มีความเสี่ยงต่อการล้ม (The Activities – Specific Balance Confidence (ABC) ผ่านแบบสอบถามโดยเน้นการรับรู้ความสามารถของตนเองและแนวโน้มกิจกรรมที่หลีกเลี่ยง เช่น ความมั่นใจขณะเดินในห้างสรรพสินค้า การเดินในตลาด เป็นต้น หากท่านมีคะแนนความมั่นใจ < 67% ท่านมีความเสี่ยงในการล้มและมีแนวโน้มที่จะล้มซ้ำในอนาคต
  • ตรวจเช็กกิจวัตรประจำวัน ลดความเสี่ยงต่อการล้ม (Safety ADL) ผ่านแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างปลอดภัย
  • ตรวจเช็กสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกบ้าน ลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม (Safety in House) ผ่านแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตภายในบ้านและนอกบ้านได้อย่างปลอดภัย
    แพ็กเกจตรวจประเมินความเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุ 
  • ตรวจเช็กสมดุลการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวร่างกายไปทางด้านหน้า (Functional Reach Test – FRT) เพื่อประเมินความเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุเมื่อต้องเอื้อมหยิบของระยะไกล หากเคลื่อนที่ไปด้านหน้าได้ระยะทางน้อยกว่า 20 ซม.ท่านมีความเสี่ยงต่อการหกล้มและมีผลต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การเอื้อมหยิบของทางด้านหน้า การก้มผู้เชือกรองเท้า การก้มหยิบของที่พื้น เป็นต้น
  • ตรวจเช็กการทรงตัวของผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมลุกนั่งติดต่อกัน 5 ครั้ง (5 – Time Sit to Stand) เพื่อประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพก เข่า ข้อเท้าของผู้สูงอายุว่าเพียงพอที่จะลุกนั่งโถสุขภัณฑ์ นั่งเก้าอี้ นั่งโซฟาหรือไม่ หากท่านใช้เวลาลุกนั่ง มากกว่า 15 วินาที ท่านมีความเสี่ยงล้ม มีผลต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การลุกนั่งจากเก้าอี้ที่รับประทานอาหาร โซฟาและมีผลต่อการกลับมาล้มซ้ำได้ 74%
  • ตรวจเช็กการทรงตัวด้วยการยืน 4 แบบ (4 Stage Balance Test) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทรงตัวเมื่อต้องปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในท่ายืน หากท่านไม่สามารถยืนในท่าต่อเท้าได้ถึง 10 วินาที ท่านมีความเสี่ยงต่อการล้มและมีผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การยืมสวมกางเกง การยืนสวมรองเท้า ถุงเท้า การยืนอาบน้ำ
  • ตรวจเช็กความสามารถในการเดินและการทรงตัว (Time Up and Go) เพื่อประเมินความสามารถขณะทำกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายหลายทิศทาง เช่น เมื่อจะลุกไปเข้าห้องน้ำสามารถไปได้ทันเวลา มีกำลังในการลุกขึ้นยืนหรือลงนั่งได้ เป็นต้น หากท่านใช้เวลาโดยรวมมากกว่า 12 วินาที ท่านมีความเสี่ยงล้ม และหากใช้เวลามากว่า 16 วินาที ท่านมีความเสี่ยงล้มซ้ำได้
    แพ็กเกจตรวจประเมินความเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุ
  • ตรวจเช็กแรงบีบมือ (Grip Strength) เพื่อประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและแรงบีบมือ เพราะแรงบีบที่ลดลงมีความสัมพันธ์กับการทรงตัว การเดิน และการหกล้ม หากท่านมีแรงบีบมือน้อยกว่าค่ามาตรฐานจะส่งผลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและมีความเสี่ยงต่อการล้มโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีปัญหาการทรงตัวจะมีความเสี่ยงต่อการล้มมากกว่าปกติ 2 เท่า 
  • ตรวจเช็กมวลกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ (In – Body) หากผู้สูงอายุมีมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่าปกติจะทำให้ลุกนั่งลำบาก ทรงตัวไม่ดี และหกล้มบ่อย หากท่านมีค่ามวลกล้ามเนื้อน้อยกว่าค่ามาตรฐาน ในผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อการทรงตัวมากกว่าผู้ที่มีค่ามวลกล้ามเนื้อมาตรฐาน 4 เท่า และผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่า 2 เท่า
  • ตรวจเช็กความเร็วในการตอบสนองต่อการตัดสินใจและความเร็วในการเคลื่อนไหวร่างกาย (Reaction Time)เพื่อประเมินความสามารถในการหยิบจับคว้าสิ่งของได้ทันท่วงที หรือสามารถขยับร่างกายได้คล่องแคล่ว หากท่านมีค่าความเร็วในการตอบสนองต่อการตัดสินใจและความเร็วในการเคลื่อนไหวร่างกาย น้อยกว่าค่ามาตรฐาน ท่านมีความเสี่ยงต่อการล้ม
  • ตรวจเช็กความสามารถของสมองด้านสมาธิ และความไวในการตัดสินใจ(Cognitive Screening Related to Fall: Trail Making Test) เพื่อทดสอบสมาธิและความเร็วในการคิดและตัดสินใจในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินในสถานการณ์ที่คนเยอะ การมีสิ่งของขวางทาง การตัดสินใจข้ามถนน เป็นต้น หากท่านมีค่าความเร็วในการตอบสนองต่อความสามารถของสมองด้านสมาธิ และความไวในการตัดสินใจน้อยกว่าค่ามาตรฐาน ท่านมีความเสี่ยงต่อการล้ม

เงื่อนไขการใช้บริการ

  • ราคาดังกล่าวสามารถใช้ได้ตั้งแต่ 15 มีนาคม– 30 มิถุนายน 2566
  • ราคานี้สามารถใช้ได้เฉพาะลูกค้าคนไทยเท่านั้น
  • ราคานี้ไม่รวมค่าแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • กรุณาทำนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน  
  • รับบริการที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 4 อาคาร R รพ.กรุงเทพ
  • ผู้เข้ารับบริการและผู้ช่วยเหลือต้องสวม Surgical Mask ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่บริการ
  • ไม่สามารถใช้ร่วมกับกิจกรรมส่วนลดการตลาดอื่น ๆ ได้
  • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงราคาโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • ระยะเวลาในการตรวจประเมินใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
  • กรุณาสวมชุดที่สะดวกต่อการเคลื่อนไหว ไม่หลวมหรือกระชับจนเกินไป และรองเท้าผ้าใบหุ้มข้อหรือรองเท้ารัดส้นไม่สูงเท่านั้น

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 4 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู (อาคาร R)

เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 .

โทร. 0 2310 3031 

Add line : https://lin.ee/Y67spls

สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ชั้น 3 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู (อาคาร R)

แชร์