หยุดเรื่องน่าเศร้าของโรคซึมเศร้า

2 นาทีในการอ่าน
หยุดเรื่องน่าเศร้าของโรคซึมเศร้า

แชร์

ถ้าถามว่าสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ มาจากอะไรบ้าง หลายคนคงนึกถึงโรคหัวใจ มะเร็ง สมอง รวมถึงอุบัติเหตุ จะมีกี่คนนึกถึงโรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลร้ายต่อตนเองและครอบครัว ดังนั้นหากสงสัยว่าคุณหรือคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคนี้ให้รีบปรึกษาผู้ชำนาญการเพื่อรับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง


โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า คือ ความเจ็บป่วยทางจิตเวช ซึ่งเกิดความผิดปกติของสมอง ส่งผลกระทบต่อความนึกคิดอารมณ์ ความรู้กสึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพร่างกาย คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคซึมเศร้าหายเองได้ แต่ความจริงต้องอาศัยการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างจริงจัง

 

โรคซึมเศร้ามีกี่แบบ

  • โรคซึมเศร้าทั่วไป แสดงอาการเบื่อ ท้อแท้ และเศร้าสลดอย่างมากนานเกิน 2 สัปดาห์
    สาเหตุ : มีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง การสูญเสีย หรือผิดหวัง ความเครียดสะสมยาวนาน อาจมีอาการทางจิต เช่น หวาดระแวง และหูแว่ว การเปลี่ยนแปลงตามวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักมีอาการขี้บ่นจุกจิก

  • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง รุนแรงน้อยกว่ากรณีแรก แต่เป็นต่อเนื่องนานอย่างน้อย 2 ปี และมักนานกว่า 5 ปี
    สาเหตุ : ทุกข์ใจมายาวนาน แม้จัดการได้ระดับหนึ่ง แต่ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความสุขมาเป็นเวลาหลายปี ลงเอยด้วยการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแบบชัดเจน

  • โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ดิสออเดอร์ มีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้า สลับกับร่าเริงผิดปกติ (Mania) ใน 1 ปีอาจมีอาการนี้หลายครั้ง มีผลต่อการตัดสินใจ เช่น ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายหรือตัดสินใจผิด ๆ และอาจคิดฆ่าตัวตาย


อาการสังเกตโรคซึมเศร้า

  • หมดความสนใจในกิจกรรมประจำวัน ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งที่เคยทำอย่างสนุกสนาน

  • มีอารมณ์เซ็ง เศร้า หมดที่พึ่ง หมดหวัง อยู่ดี ๆ ก็อยากร้องไห้

ระวัง!! หากคุณมีอาการแบบนี้ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์

  • นอนมากเกินไปหรือนอนไม่หลับ ตื่นเช้าผิดปกติ หงุดหงิดกังวล

  • น้ำหนักลดหรือเพิ่ม กว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวปกติ

  • หงุดหงิด โมโหง่าย ขี้รำคาญ หรือทำอะไรช้าลง

  • อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีพลังในการทำงาน ดูเหมือนคนเกียจคร้าน

  • ขาดความมั่นใจในตนเอง

  • คิดถึงแต่เรื่องตาย หรือมีความคิดทำร้ายตนเองแวบขึ้นมาอยู่บ่อย ๆ

  • ขาดสมาธิในการคิดจนตัดสินใจหรือจำอะไรไม่ได้ มักบ่นว่ามีปัญหาเรื่องความจำ

  • สูยเสียความรู้สึกทางเพศ ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยมีปัญหานี้มาก่อน


วิธีลดความเครียด

  • ออกกำลังกาย

  • ไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ ช่วยให้เพลินจนลืมความกังวลได้

  • ฟังเพลงเนื้อหาดี ๆ ปลดปล่อยความกังวล


สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ชั้น 5 อาคาร C โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.

แชร์