256 สไลซ์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่ รพ.หัวใจกรุงเทพ
6 นาทีในการอ่าน

แชร์
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงคืออะไร
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นเครื่องมือทางรังสีกรรมที่ต้องใช้รังสีเอกซ์ในการสร้างสัญญาณภาพถ่ายทางรังสีวินิจฉัยร่วมกับการฉีดสารเปรียบต่างเข้าทางหลอดเลือดดำ และสัญญาณภาพจะถูกเปลี่ยนไปเป็นภาพถ่ายทางรังสีวินิจฉัยโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ ลักษณะภายนอกมีรูปร่างเป็นอุโมงค์ทรงกลมปลายเปิดทั้งสองด้าน และมีเตียงที่ให้สำหรับคนไข้สำหรับนอนตรวจซึ่งเลื่อนเข้าออกอุโมงค์ได้ อุโมงค์ของเครื่องมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 60-70 เซนติเมตร ภายในผนังอุโมงค์จะมีหลอดเอกซ์เรย์ และ ตัวรับสัญญาณ ทีอยู่คนละฝั่งตรงข้ามกัน เมื่อทำการตรวจหัวใจ หลอดเอกซ์เรย์และตัวรับสัญญาณ จะหมุนรอบตัวผู้ป่วย 360 องศาด้วยความเร็วสูงพร้อมกับเตียงจะเลื่อนเข้าไปในอุโมงค์ จนได้สัญญาณภาพของหัวใจและหลอดเลือดอย่างครบถ้วนเตียงจะค่อย ๆ เลื่อนออกมา เป็นอันจบกระบวนการตรวจ
การตรวจหาปริมาณแคลเซียมที่จับอยู่ที่ผนังหลอดเลือด โคโรนารี อาร์เทอรี่ โดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงใช้ เทคนิคอะไร
การตรวจหาปริมาณแคลเซียมที่จับอยู่ที่ผนังหลอดเลือด โคโรนารี อาร์เทอรี่ โดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงโดยใช้เทคนิค
- โคโรนารี่ แคลเซียม สกอริ่ง (Coronary Calcium Scoring) ซึ่งเป็นวิธี่การตรวจที่ไม่ต้องฉีดสารเปรียบต่างเข้าทางหลออดเลือดดำ ปกติมักจะทำก่อนการตรวจหลอดเลือดหัวใจที่ต้องฉีดสารเปรียบต่าง
- การตรวจหลอดเลือดหัวใจที่ต้องฉีดสารเปรียบต่าง (CTA for coronary artery) ก็สามารถเห็นแคลเซียมที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดที่อาจมีผลต่อการตีบแคบของหลอดเลือดโคโรนารีบริเวรนั้น แต่ไม่สามารถใช้วิธีนี้คำนวณปริมาณแคลเซียมได้ การฉีดสารเปรียบต่างทำให้สามารถเห็นคราบไขมัน (atherosclerotic plaque) ที่เกาะอยู่ใต้ชั้นผนังหลอดเลือดได้ด้วย
การตรวจ โคโรนารี อาร์เทอรี่ ใช้ เทคนิคอะไรบ้าง
การตรวจหลอดเลือดหัวใจอาจทำโดยวิธีสวนหัวใจ catheter-based angiography (coronary angiogram) ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องใส่สายสวนหัวใจเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ (femoral artery) พร้อมกับฉีดสารเปรียบต่างเข้าไปทางสายสวนหัวใจเพื่อดูภาพของหลอดเลือดภายโดยอาศัยรังสีเอกซ์เรย์ ถึงแม้ว่าการตรวจสวนหัวใจจะเป็นวิธีการตรวจที่มีความเสี่ยงมากกว่าการตรวจด้วยเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงแต่ก็ถือเป็นวิธีมาตรฐาน (gold standard) ในการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพราะให้ภาพการตรวจทางรังสีที่ใช้วินิจฉัยโรคมีความละเอียดสูงจึงให้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำสูง
ข้อได้เปรียบของ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่มีเหนือต่อ การตรวจสวนหัวใจคืออะไร
- การตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง มีข้อได้เปรียบเหนือต่อ การตรวจสวนหัวใจ เพราะการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเป็นการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยไม่มีการสอดใส่อุปกรณ์ใด ๆ เข้าไปในร่างกาย
- การตรวจหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสามารถวัดปริมาณแคลเซียมที่เกาะอยู่ที่ใต้ชั้นผนังหลอดเลือดหัวใจชั้นในสุดได้ ซึ่งปริมาณแคลเซียมที่วัดได้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโดยการขยายหลอดเลือดด้วย บอลลูน หรือ ขดลวด หรือใช้ในการประเมินความเสี่ยงของโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
- การตรวจหัวใจและหลอดเลือดโดยใช้ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง สามารถวินิฉัยโรคที่สามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการจ็บหน้าอกและเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้ในการตรวจครั้งเดียวร่วมกับการฉีดสารเปรียบต่างเข้าทางหลอดเลือดดำ โรคอันตรายเหล่านั้นได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด และโรคหลอดเลือดดำพัลโมนารี อุดกั้น
ทำไมเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงชนิด 256 สไลซ์ จึงมีข้อได้เปรียบเหนือต่อ ชนิด 64 สไลซ์
ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพให้บริการการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่มีจำนวนสไลซ์ 256 สไลซ์ ซึ่งมีข้อได้เปรียบเหนือต่อ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ความเร็วสูงที่มีจำนวนสไลซ์ 64 สไลซ์ดังนี้
- เครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่มีจำนวนสไลซ์ 256 สไลซ์ จะมีความเร็วในการสแกนมากกว่าเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่มีจำนวนสไลซ์ 64 สไลซ์ โดยใช้เวลาในการสแกนประมาณที่หัวใจเต้น 2 ครั้ง แต่เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่มีจำนวนสไลซ์ 64 สไลซ์ ใช้เวลาประมาณหัวใจเต้น 10 ครั้ง
- เครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่มีจำนวนสไลซ์ 256 สไลซ์ ผลิตภาพทางรังสีวินิจฉัยที่มีความละเอียด และคุณภาพดีกว่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่มีจำนวนสไลซ์ 64 สไลซ์ ดังนั้นความน่าเชื่อถือของผลการตรวจจึงมีมากกว่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่มีจำนวนสไลซ์ 64 สไลซ์
- เพราะเวลาที่ใช้ในการสแกนสั้น จึงทำให้ใช้ปริมาณสารเปรียบต่างน้อยลงประมาณ 30%
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่มีจำนวนสไลซ์ 256 สไลซ์ สามารถใช้ตรวจหัวใจของผู้ป่วยที่มีอัตตราการเต้นของหัวใจที่มากกว่า 60 ครั้งต่อนาทีและอัตราการเต้นไม่สม่ำเสมอได้ และได้ภาพถ่ายทางรังสีที่ดีพอที่จะใช้วินิจฉัยโรคได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการใช้ยา บีต้า บล้อคเกอร์ (beta blocker) เพื่อลดอัตตราการเต้นของหัวใจ
ข้อแตกต่างระหว่าง การตรวจหัวใจ ด้วย เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง กับ การวิ่งสายพาน (exercise stress test) นิวเคลียร์ สเตรส เทส (nuclear stress test) และ คือ อะไร
การตรวจหัวใจ ด้วยเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง จะผลิตภาพทางรังสีที่แสดงลักษณะทางโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือด แต่ นิวเคลียร์ สเตรส เทส (nuclear stress test) และ การวิ่งสายพาน (exercise stress test) จะเป็นการทดสอบสมรรถภาพการทำงานของหัวใจขณะเกิดความเครียด ซึ่งเป็นการประเมินการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจทางอ้อม
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ หลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงคืออะไรบ้าง?
- ใช้ตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่มีความเสี่ยงต่ำ ถึงปานกลาง เช่น ผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บหน้าอก แต่ระดับ คาร์ดิแอค เอนไซม์ ในเลือดไม่เพิ่มขึ้นผิดปกติ แต่อาจมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงในลักษณะ เอส ที ดีเพลสชั่น (ST depression) ที่บ่งถึงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial ischemia ) แต่ไม่ถึงกับเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction)
- ใช้แยกโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอันเนื่องมาจากหลอดเลือดโคโรนารีอุดตัน กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง (non- ischemic dilated cardiomyopathy)
- ใช้ประเมินผลหลังการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ความเสี่ยงต่อการเกิดผลแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากการตรวจหัวใจด้วย เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงมีอะไรบ้าง
- ผู้ป่วยอาจเกิดอาการแพ้สารไอโอดีนที่อยู่ในสารเปรียบต่าง ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีประวัติแพ้อาหารทะเลก็จะมีความเป็นไปได้มากที่จะแพ้สารไอโอดีนที่อยู่ในสารเปรียบต่าง อาจป้องกันได้โดยปรึกษาแพทย์เพื่อให้ยาแก้แพ้
- ผุ้ป่วยที่มีโรคไต หรือการทำหน้าที่ของไตบกพร่อง จะมีความเสียงต่อไตวายอันเนื่องมาจากการกระตุ้นโดยสารเปรียบต่าง (contrast induced nephropathy (CIN))
- การได้รับรังสีเอกซเรย์ การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงต้องได้รับรังสีเอกซเรย์แน่นอน แต่ได้รับในขนาดที่ไม่เกิดอันตราย
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ถ้าไดรับรังสีเอกซเรย์อาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการแต่กำเนิดได้
เรื่องสำคัญทางสุขภาพที่ผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ทราบที่สำคัญได้แก่อะไรบ้าง?
- ผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์
- แพ้อาหารทะเล หรือ แพ้สารไอโอดีน
- ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคไต
- ยาที่รับประทานเป็นประจำ
- กลัวที่แคบ
ผู้ป่วยต้องมีการเตรียมตัวก่อนการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงทำอย่างไรบ้าง
- ก่อนตรวจผู้ป่วยต้องเปลี่ยนเสื้อผ้ามาใส่เสื้อตามที่โรงพยาบาลเตรียมไว้ให้
- ผู้ป่วยต้องไม่สวมใส่เครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะที่อาจทำให้เกิดสัญญาณรบกวนในภาพ
- ผู้ป่วยต้องงดการรับประทานอาหารและน้ำเป็นเวลา 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ ถ้าผู้ป่วยได้รับการตรวจที่ต้องมีการฉีดสารเปรียบต่างร่วมด้วย แต่ไม่ต้องงดยาที่รับประทานประจำ ยกเว้นแพทย์สั่ง
- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ โซดา และ ชอคโคแลท 24 ชั่วโมงก่อนการตรวจ
- งดรับประทานยา ไวอากรา (viagra) ซิเอลิส (cialis) หรือ เลวิตรา (levitra) เป็นเวลา 12 ชั่วโมงก่อนตรวจ
- แจ้งแพทย์ให้ทราบด้วยเมื่อผู้ป่วยตั้งครรภ์ หรือ เป็นที่สงสัย เช่นประจำเดือนขาด
- แจ้งแพทย์ให้ทราบด้วยเมื่อผู้ป่วยกลัวที่แคบ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณา ให้ยานอนหลับชนิดอ่อน หรือขนาดน้อย ๆ เพื่อลดความกังวลแล้วแต่กรณีไป
ขั้นตอนการตรวจทำอย่างไรบ้าง
- ผู้ป่วยต้องนอนราบบนเตียงตรวจที่สามารถเลื่อนเข้าเลื่อนออกอุโมงค์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้ และผู้ป่วยจะถูกรัดด้วยสายรัดเพื่อป้องกันไม่ให้รางกายของผู้ป่วยเคลื่อนออกจากตำแหน่ง
- ผู้ป่วยจะได้รับการติดสายวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจบนหน้าอกของผู้ป่วย และ สายรัดต้นแขนสำหรับวัดความดันโลหิต
- ผู้ป่วยจะต้องได้รับการฝึกซ้อมการกลั้นหายใจก่อนการตรวจตามขั้นตอน เวลาที่ใช้ในการกลั้นหายใจประมาณ 10 วินาที
- การตรวจวินิจโรคของหลอดเลือดโคโรนารี หลอดเลือด เอออร์ตาร์ และหลอดเลือด พัลโมนารี ด้วยเครื่อง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ต้องได้รับการฉีดสารเปรียบต่างทางหลอดเลือดดำเสมอ
เวลาที่ใช้ในการตรวจนานเท่าไร
เวลาที่ใช้ในการตรวจประมาณ 30 นาที ซึ่งรวมเวลาการติดอุปกรณ์ที่ตัวผู้ป่วย และการเปิดหลอดเลือดดำ แต่เวลาที่ใช้ สแกน จริงๆจะประมาณ 5 นาที
หลังการตรวจผู้ป่วยต้องปฎิบัติตัวอย่างไร
- ผู้ป่วยจะได้รับการแจ้งให้พักรอดูอาการแพ้ที่ห้องพักดูอาการที่แผนก cardiac imaging ซี่งอาจเกิดจากสารเปรียบต่างชนิดที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบประมาณ 20-30 นาที เมื่อไม่มีอาการผิดปกติใด ๆเกิดขึ้นก็ส่งผู้ป่วยกลับไปที่แผนกที่ส่งผู้ป่วยมาตรวจ และให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้
- ในกรณีที่ผู้ป่วยไดัรับยานอนหลับหรือยาสลบก่อนการตรวจ ผู้ป่วยอาจต้องพักฟื้นรอดูอาการจนกว่าผู้ป่วยจะตื่นดีมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีจึงสามารถปล่อยตัวผู้ป่วยให้รับประทานอาหารหรือทำกิจกรรมตามปกติได้
ผู้ป่วยจะได้รับรายงานผลการตรวจในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงหลังตรวจเสร็จโดยแพทย์ผู้ส่งตรวจจะเป็นผู้บอกผลการตรวจ
แชร์