เป็นการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร และลดการดูดซึมของอาหารเพื่อให้ร่างกายนำไขมันส่วนเกินสลายไปเป็นพลังงาน ปัจจุบันการผ่าตัดจึงเป็นวิธีที่ได้ผลระยะยาว สำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนที่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยการควบคุมอาหาร ทานยา หรือออกกำลังกาย ทั้งนี้ การรักษาโรคอ้วนโดยการไม่ผ่าตัดกระเพาะมีโอกาสที่น้ำหนักจะกลับมาเพิ่มขึ้นอีก และโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในช่วงที่น้ำหนักกลับมาจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น และดื้อต่อการรักษามากขึ้น
ผู้ป่วยกว่า 800 รายที่ทีมศัลยแพทย์ให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ซึ่งประกอบด้วยทีมแพทย์หลากหลายสาขา อาทิ ศัลยแพทย์ส่องกล้องและผ่าตัดโรคอ้วน อายุรแพทย์เบาหวานและเมตาบอลิซึม อายุรแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักพฤติกรรมบำบัด นักจิตวิทยา นักกำหนดอาหาร และพยาบาลเฉพาะทาง
วิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหาร เพื่อลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน
1. การผ่าตัดรัดกระเพาะ Laparoscopic Gastric Banding
การนำซิลิโคนรัดส่วนต้นของกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลง มีความจุเหลือ 30 ซีซี ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นเพราะขนาดกระเพาะที่เล็กลง
2. การผ่าตัดส่องกล้องลดขนาดกระเพาะ Laparoscopic Sleeve Gastrectomy
การผ่าตัดปรับรูปร่างของกระเพาะให้เหมือนผลกล้วยหอม มีความจุเหลือ 150 ซีซี โดยตัดกระเพาะและส่วนที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมความหิวออกประมาณ 80% เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องบริเวณหน้าท้อง แผลเล็กขนาด 0.5 ซม.เพื่อใส่เครื่องมือผ่าตัดชนิดพิเศษในการตัดและเย็บกระเพาะอาหารไปพร้อมกัน โดยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ เพื่อวัดขนาดกระเพาะอาหารให้ได้ขนาดที่เหมาะสม
3. การผ่าตัดส่องกล้องลดขนาดกระเพาะและทำบายพาส Laparoscopic Gastric Bypass
การผ่าตัดแยกกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลงเป็นรูปกระเปาะ มีความจุ 30 ซีซี จากนั้นตัดแยกลำไส้เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งมาต่อกับกระเพาะเพื่อบายพาสอาหารความยาว 100-150 ซม. ถือเป็นวิธีมาตรฐานของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารที่นิยมมากว่า 50 ปี