มาตรฐานรับรองการรักษาระดับสากล JCI โปรแกรมการตรวจรักษาโรคภาวะหัวใจล้มเหลว
แชร์

พันธกิจ

พันธกิจของเราไม่เพียงเพแต่ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และช่วงชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเท่านั้น แต่เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาโรงพยาบาลตลอด เวลา

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ตามแนวทางคลินิค (clinical pathway) สำหรับ “โรคหัวใจล้มเหลว” มีดังนี้

  • เพื่อแนะนำการรักษาทางคลินิคให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • เพื่อใช้กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาที่ชัดเจน
  • มีการวัดผลในด้านกระบวนการของ การประเมิน และการจัดการ
  • เพื่อให้การสื่อสารระหว่างผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัว และ หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านบริการ สามารถทำงานร่วนกันการให้คำแนะนำหรือสอนให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถ ช่วยเหลือตนเองได้

ขอบเขต

แนวทางนี้อธิบายถึงการวินิจฉัย และกลยุทธ์ในการบริหารจัดการสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยจะเน้นถึงระบบและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนและเหมาะสมต่อการดูแลเป็น ลำดับแรก โรคหัวใจล้มเหลวเป็นโรคที่สลับซับซ้อน ที่มีการวินิจฉัยรวมทั้งการรักษาที่ใหม่ๆ ซึ่งได้สรุปไว้ในแนวทางปฏิบัตินี้

ผู้เกี่ยวข้อง

โปรแกรมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในด้าน ความรู้ของผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเน้นการดูแลผู้ป่วยในระยะเบื้องต้น สำหรับผู้ที่เข้ามารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก

คำนิยาม

โรคหัวใจล้มเหลวเป็นโรคซับซ้อนที่เป็นผลมาจากการทำ งานที่ผิดปกติของหัวใจ ทำให้สมรรถภาพของหัวใจที่เปรียบเสมือนเครื่องสูบฉีดช่วยให้การไหลเวียนของ โลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเกิดความบกพร่อง ลักษณะของหัวใจล้มเหลวจะมีอาการของ การหายใจลำบาก มีอาการหอบเหนื่อย ซึ่งแสดงให้รู้ว่ามีสภาวะของน้ำขังอยู่ภายใน

  • Heart Failure: หัวใจไม่สามารถสูบฉีดปริมาณหรือจำนวนเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายได้เพียงพอ
  • NYHA: New York Heart Association
  • NYHA function class I: ไม่มีอาการแสดงให้เห็น
  • NYHA function class II: อาการจะแสดงเมื่อมีการออกแรงปานกลาง
  • NYHA function class II: อาการจะแสดงเมื่อมีการออกแรงปานกลาง
  • I: อาการจะแสดงเมื่อมีการออกแรงเพียงเล็กน้อย
  • NYHA function class IV: อาการจะแสดงแม้จะอยู่นิ่งเฉยโดยไม่ได้ออกแรงอะไรเลย
  • Systolic heart failure: สภาวะของสัญญาณและอาการของหัวใจล้มเหลวที่มีแรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจ < 40 %
  • Diastolic heart failure: สภาวะของสัญญาณและอาการของหัวใจล้มเหลวที่มีแรงคลายตัวของ กล้ามเนื้อหัวใจ(Left ventricular ejection fraction) > 40%
  • NTpro BNP: N-terminal pro B-type natriuretic peptide

คำแนะนำสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติตามแนวทางคลินิคของโรคหัวใจล้มเหลว

แนวทางนี้ครอบคลุมในกรณี ดังต่อไปนี้

ผู้ป่วยควรมีการวินิจฉัย ของ:

  • หัวใจล้มเหลว หัวใจล้มเหลวฉับพลัน หัวใจล้มเหลวรุนแรง
  • มีน้ำในปอด มีน้ำในปอดฉับพลัน น้ำท่วมปอด
  • Dilated Cardiomyopathy (CDM) โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดจากหลอดเลือดอุดตัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่เกิดจากหลอดเลือดอุดตัน
  • หายใจลำบาก (Orthopnea), การหายใจติดขัดเมื่อลดตัวลงนอน (Paroxysmal nocturnal dyspnea), อ่อนเพลีย(Fatique)

แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมในกรณี ดังต่อไปนี้

  • ผุ้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี
  • ผู้ป่วยถูกนำส่งไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติได้
  • ผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้ว
  • ผู้ป่วยที่ปฏิเสธในการยินยอมรักษาตามคำแนะนำของแพทย์

ทีมสหสาขาวิชาชีพ / กลุ่มสุขภาพ

  • หน่วยฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
  • โภชนากร
  • เภสัชกร
  • ผู้ประสานงานทางด้านหัวใจ
  • พยาบาลดูแลด้านหัวใจล้มเหลว

บุคลากรทางการแพทย์ในกระบวนการดูแลหัวใจล้มเหลวจะต้องปฏิบัติตามดังนี้

  • ปฏิบัติตามแนวทางคลินิกหัวใจล้มเหลว (Heart failure clinical pathway)
  • บันทึกการดูแลรักษาในแบบฟอรม์การประเมินทางคลินิคหัวใจล้มเหลว (Heart Failure Clinical Assessment Form)
  • บันทึกประวัติการให้ยาในแบบฟอร์ม Heart Failure Medicine Sheet
  • การวัดผลที่สำคัญของแพทย์ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว และพยาบาลป็นผู้ทำการประเมินตามแผนที่วางไว้
  • บันทึกแบบสอบถามเกี่ยวกับหัวใจล้มเหลว สำหรับพยาบาลใช้ในการประเมินผู้ป่วย และครอบครัวในด้านการให้คำแนะนำและความรู้เพื่อให้ตรงตามความคาดหวัง
  • บันทึกคำสั่งการรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวไว้ในโรงพยาบาล เป็นคำสั่งเพื่อส่งตรวจ วินิจฉัย วางแผนการรักษา และการดูแลให้กับผู้ป่วย
  • บันทึกคำสั่งในการจำหน่ายผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว เป็นรับคำสั่งเพื่อวางแผนในเรื่องยาและการจำหน่ายผู้ป่วย

แนวทางการบันทึกเอกสาร

สำหรับแพทย์

  • เอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับการรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวไว้ในโรง พยาบาล คำสั่งในการจำหน่ายผู้ป่วยต้องมีความสมบูรณ์ครบถ้วนตามแนวทางคลินิค (clinical pathway)
  • การแก้ไขเอกสารที่มีทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางคลินิกจะต้องลงวันที่ และลงนามไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
  • หากมีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารใดๆ ให้ขอคำปรึกษาจากผู้อำนวยการโครงการ

สำหรับพยาบาล

  • เอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับการรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว คำสั่งในการจำหน่ายผู้ป่วยต้องมีความสมบูรณ์ครบถ้วนตามแนวทางคลินิค (clinical pathway)• ห้ามละเว้นทุกช่องว่างที่มีไว้ให้เติมทุกช่อง
  • การแก้ไขเอกสารที่มีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางคลินิก จะต้องลงวันที่และลงนามไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
  • หากมีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารใดๆ ให้ขอคำปรึกษาจากผู้อำนวยการโครงการ และผู้ประสานงานโครงการ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • เอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับการรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว คำสั่งในการจำหน่ายผู้ป่วย ต้องมีความสมบูรณ์ครบถ้วนตามแนวทางคลินิค (clinical pathway)
  • ห้ามละเว้นทุกช่องว่างที่มีไว้ให้เติมทุกช่อง
  • การแก้ไขเอกสารที่มีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางคลินิก จะต้องลงวันที่และลงนามไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
  • หากมีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารใดๆ ให้ขอคำปรึกษาจากผู้อำนวยการโครงการ และผู้ประสานงานโครงการ

บุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องลงชื่อไว้เป็นหลักฐานการให้การดูแลตามแนวทางคลินิค (Clinical pathway)

  • ไม่นำเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดูแลทางคลินิค (Clinical pathway) ออกจากแฟ้มของผู้ป่วย
  • ข้อมูลการวัดผลจะต้องได้รับการตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินกระบวนการดูแล และผลลัพธ์ ของการดูแล.
  • ทีมสหสาขาวิชาชีพหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดูแลต้อง ติดตามข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี ยา ตำรา และ/หรือแหล่งข้อมูลใหม่ๆ

สถานที่ที่ให้บริการ (Service Counter)
กรณีฉุกเฉิน: แผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
กรณีไม่ฉุกเฉิน: คลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เปิดให้บริการ 08:00 – 16:00 ทุกวัน


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว หรือพยาบาลประสานงานผู้ป่วยโรคหัวใจ
โทร.02-310-3033 หรือ 081-375-2222
หรือ Contact Center โทร.1719 (24 ชม.)
Email: info@bangkokhospital.com

แชร์